กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์คัดแยกขยะ (รีไซเคิล) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ภายในเขตตำบลตอหลัง หมู่ที่ 1
รหัสโครงการ 60-L3038-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านตอหลัง ม.1
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะกาแม มาหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตอหลัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.802,101.448place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ย. 2560 18 ก.ย. 2560 18,600.00
รวมงบประมาณ 18,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านตอหลัง ม.1มีประชากรทั้งหมด 1,090คน 225 ครัวเรือน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,302ไร่มีอาชีพทำสวนทำไร่ โดยปัจจุบันมีปริมาณขยะที่เก็บได้ จำนวน 1 ตัน/1 อาทิตย์ และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของชุมชน และเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มการเพิ่มประชากรในอนาคต คาดหมายว่าอาจจะทำให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณในอีก 2-3 ปี
โดยทางเทศบาลตำบลตอหลังมีรถบรรทุกขยะ จำนวน 1 คัน ขนาดความจุ 4 ลบ.ม. พนักงานขยะมีจำนวน 4 คน โดยดำเนินการเก็บขยะอาทิตย์ละ 2 วัน โดยดำเนินการจัดเก็บขยะในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลตอหลัง ทั้ง 3 หมู่บ้าน ไปกำจัด ทั้งนี้ องค์ประกอบของขยะมูลฝอย ประกอบด้วย
1. ขยะอินทรีย์ 2. ขยะรีไซเคิล 3. ขยะทั่วไป
4. ขยะอันตราย ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกทิ้งรวมกันโดยไม่มีการคัดแยกจากแหล่งกำเนิด และถูกรวบรวมไปยังระบบจำกัดขยะที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขยะ ลดภาระการฝังกลบ จึงจำเป็นต้องจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นแต่การลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิด แยกการจัดเก็บหรือกำจัดให้สอดคล้องตามลักษณะประเภทของขยะ และลดปัญหาผลกระทบต่าง ๆ ที่ตามมารวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย โดยขณะนี้ หมู่บ้านตอหลังร่วมกับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำทางศาสนา ชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน ดำเนินโครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา ชาวตอหลัง ซึ่งมีกิจกรรมจะทำธนาคารขยะรีไซเคิล กิจกรรมลดปริมาณคาร์บอนการคัดแยกขยะจากครัวเรือน การทำปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อขยะรีไซเคิล ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมโครงการลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ชาวบ้านตำบลตอหลังจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์คัดแยกขยะ (รีไซเคิล) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ภายในเขตตำบลตอหลัง หมู่ที่ 1เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชนได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็นในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและของเสีย เป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพและป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

กลุ่มอาสาสมัคร และประชาชน มีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน

2 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชน และชุมชนได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็นในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย

มีการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์มากขึ้นและเหลือปริมาณขยะมูลฝอยนำไปกำจัดจำนวน
ลดน้อยลง

3 เพื่อลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิด และลดภาระการกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ

เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

4 เพื่อป้องกันปัญหามลพิษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สิ่งแวดล้อมรอบๆ ชุมชนดีขึ้น และปริมาณขยะที่นำไปกำจัดน้อยลง

5 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบในอนาคต โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยแยกประเภท ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะอันตราย

การบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบในอนาคต

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. แต่งตั้งและประชุมตัวแทนเพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงาน โดยหลักการคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะและวิธีการจัดการขยะเป็นระบบครบวงจร ตั้งแต่การคัดแยกที่แหล่งกำเนิน การเก็บรวบรวม และการกำจัดขยะโดยวิธีเหมาะสม และแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อชุมชนได้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ในการดำเนินการ จำนวน 2 ครั้งคือก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดโครงการ
    1. ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ทั่วถึงทุกชุมชน ทุกหลังคาเรือน เพื่อสร้างแรงจูงใจ เพื่อความรู้ความเข้าใจความร่วมมือในการคัดแยกขยะ
    2. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อรับสมัครเป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่อง เข้าร่วมโครงการผลิตปุ๋ย และน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์เพื่อใช้ในครัวเรือน
    3. จัดอบรมการผลิตปุ๋ย และน้ำหมักชีวภาพจากอินทรีย์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มอาสาสมัคร และประชาชน มีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน
    1. มีการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์มากขึ้นและเหลือปริมาณขยะมูลฝอยนำไปกำจัดจำนวน
      ลดน้อยลง
    2. เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
    3. สิ่งแวดล้อมรอบๆ ชุมชนดีขึ้น และปริมาณขยะที่นำไปกำจัดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2560 13:51 น.