กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 8,130.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มบุคคลที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ อีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญ คือ “หญิงตั้งครรภ์” เพราะหญิงตั้งครรภ์นั้นยังมีอีกหนึ่งชีวิตที่อยู่ร่วมด้วยนั้นก็คือ ทารกในครรภ์ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลถูกต้อง มีคุณภาพตามเกณฑ์ ก็จะส่งผลให้ทารกในครรภ์คลอดมีคุณภาพ เขตเทศบาลนครตรัง 11 ชุมชน ปี 2564 มี หญิงตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 97 คน และเมื่อ อสม.ในพื้นที่ 11ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ได้ลงสำรวจพบหญิงตั้งครรภ์อยู่จริงในพื้นที่ 60 คน (ร้อยละ 61.86 )อยู่นอกพื้นที่ 11 ชุมชน 37 คน (ร้อยละ 38.14)มีแต่ชื่อในเขตเทศบาลนครตรัง หญิงหลังคลอดทั้งสิ้น 81 คน ได้รับการลงเยี่ยมมารดาหลังคลอดจากพยาบาลประจำชุมชน ในพื้นที่พบหญิงหลังคลอดอยู่จริงในพื้นที่ 52 คน (ร้อยละ 64.20) หญิงหลังคลอดอยู่นอกพื้นที่ 11 ชุมชน 29 คน (ร้อยละ 35.80) รอคลอด 8 คน หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ 5 ครั้ง 39 คน(ร้อยละ 75.00) มาฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ 5 ครั้ง 13 คน (ร้อยละ25.00) มารดาคลอดปกติ 30 คน(ร้อยละ 57.69) คลอดผิดปกติ(ผ่าตัดคลอด) 22 คน(ร้อยละ 42.31) เด็กแรกคลอดปกติ 53 คน(เป็นทารกแฝด 1 คู่)  ทารกมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม 5 คน (ร้อยละ 9.43) มีน้ำหนักมากกว่า2,500กรัม 48 คน (ร้อยละ 90.57)มารดาคลอด 52 คน พบมีความเข้มข้นของเลือด (HCT) มากกว่า 33 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 44 คน(ร้อยละ 84.62) น้อยกว่า 33 เปอร์เซ็นต์ 8 คน (ร้อยละ 15.38)
    กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน  โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการดูแลส่งเสริมสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด ได้รับการดูแลตามเกณฑ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำ “โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ปี ๒๕๖5” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ ≤ 12 สัปดาห์

ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน) ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์
≤ 12 สัปดาห์

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์ (5 ครั้ง ตามเกณฑ์) ครั้งที่ 1 เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า12 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 12 < 20 สัปดาห์ ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 20 < 26 สัปดาห์ ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 26 < 32 สัปดาห์ ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์

ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาล นครตรัง ( 11 ชุมชน ) ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์ (5 ครั้ง ตามเกณฑ์)

0.00
3 เพื่อให้ทารกหลังคลอดในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

เด็กแรกเกิดในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

0.00
4 หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน) ไม่มีภาวะโลหิตจาง (Hct ≥ 33%)

หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง(11 ชุมชน)ทุกคน ได้รับการดูแลรับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีน (150 – 200 ไมโครกรัม) ธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม และโฟเลต 400 ไมโครกรัมและมีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ  18

0.00
5 หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน) ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงได้รับการฝากครรภ์ที่คลินิกครรภ์เสี่ยง

หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน)ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงทุกคน ได้รับการฝากครรภ์ที่คลินิกครรภ์เสี่ยง

0.00
6 มารดาและทารกหลังคลอดในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน) ได้รับการติดตามเยี่ยมหลังคลอด

ร้อยละ 60 ของมารดาและทารกหลังคลอดในเขตเทศบาลนครตรัง(11 ชุมชน) ได้รับการติดตามเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 8,130.00 3 5,730.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม./ จิตอาสาในชุมชน ในการติดตามหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกแรกเกิด 100 5,130.00 3,030.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอดในชุมชน 0 0.00 0.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมติดตามประเมินการดำเนินงาน อสม./จิตอาสาในชุมชน พร้อมให้ความรู้ 50 3,000.00 2,700.00
  1. ประชุมทีมพยาบาลประจำชุมชน และแกนนำชุมชน/อสม. ในการจัดทำโครงการครรภ์คุณภาพ
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
  4. วิเคราะห์ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ
  5. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน) ได้รับการดูแลและมาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  2. ทารกหลังคลอดในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมขน) มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
  3. หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) ไม่มีภาวะโลหิตจาง
  4. หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน )ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยง ได้รับการฝากครรภ์ที่คลินิกครรภ์เสี่ยง
  5. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการติดตามเยี่ยมหลังคลอด ครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์
  6. เกิดชมรมจิตอาสาแม่และเด็ก ในชุมชน
  7. ชมรมจิตอาสา แม่และเด็กในชุมชน ผ่านการประเมินมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก กระทรวงสาธารณสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 10:45 น.