กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ/พัฒนาการ/วัคซีน เด็กแรกเกิด - 6 ปี ในชุมชน 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 56,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กแรกเกิด - 6 ปี เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมอง ซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ เป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกเหนือจากการอยู่รอด ปลอดภัย โดยเฉพาะในระยะ 2 ปีแรกของชีวิตซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดทั้งด้านร่างกายและสมอง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน รวมทั้งการกระตุ้นให้มีการพัฒนาได้เต็มศักยภาพ หากเด็กวัยนี้ได้รับการดูแลให้มีการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์อย่างถูกต้อง โดยมีครอบครัวเป็นหลักเหมาะสมกับวัยแล้ว เด็กก็จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ต่อไป การที่เด็กแรกเกิด - 6 ปี จะได้รับการพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพและเจริญเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมมือกันให้การดูแล ได้แก่ ครอบครัว บิดา มารดา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ ครู ในการติดตามการได้รับวัคซีน โภชนาการ พัฒนาการ ใน 11 ชุมชน ในเขตเทศบาลนครตรังมีเด็กแรกเกิด – 6 ปี จำนวน 320 คน จำนวนเด็กที่เฝ้าระวังทั้งหมด จำนวน 303 คน คิดเป็นร้อยละ 94.7 ภาวะโภชนาการน้ำหนัก/อายุ ตามเกณฑ์จำนวน 214 คิดเป็นร้อยละ 70.4 เกินเกณฑ์จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 ค่อนข้างมากจำนวน  19 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 ค่อนข้างน้อยจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6 น้อยกว่าเกณฑ์จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 3.0 ภาวะโภชนาการสูง/อายุตามเกณฑ์จำนวน 220 คน คิดเป็นร้อยละ ๗2.6 สูงกว่าเกณฑ์ 34 คน คิดเป็นร้อยละ11.2 ค่อนข้างสูงจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3 ค่อนข้างเตี้ยจำนวน 16คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 เตี้ยจำนวน 23 คิดเป็นร้อยละ 7.6 ภาวะโภชนาการน้ำหนัก/สูง สมส่วนจำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 63.7 อ้วนจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 10.9 เริ่มอ้วนจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9 ท้วมจำนวน 14 คนคิดเป็นร้อยละ 4.6 ค่อนข้างผอมจำนวน10คนคิดเป็นร้อยละ 3.3 ผอมจำนวน 26คน คิดเป็นร้อยละ 8.6 ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนร้อยละ ๑๐๐ จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเด็กที่มีปัญหาทางภาวะโภชนาการด้าน เตี้ย ผอม และ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 16.2 โดยแบ่งเป็นเตี้ยจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 ด้านผอมจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9 ด้านน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.7 ด้านน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และเตี้ย จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.7 ด้านน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และผอม จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.9 ด้านน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เตี้ยและผอม จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.7
  จากการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2564 การติดตามเด็กที่มีปัญหาทางภาวะโภชนาการด้านเตี้ย ผอม เตี้ยและผอม จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 15.8 โดยแบ่งเป็นเตี้ยจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 6.5 ด้านผอมจำนวน  30 คน คิดเป็นร้อยละ 8.5 ทั้งเตี้ยและผอมจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.9 ซึ่งในระหว่างการดำเนินโครงการได้จำหน่ายเด็กที่มีอายุเกินเกณฑ์ จำนวน 9 คน และ ย้ายออกนอกพื้นที่ จำนวน 4 คน คงเหลือ 43 คน ได้ค้นหาเด็กที่มีปัญหาทางภาวะโภชนาการเข้าร่วมโครงการ เพิ่ม 13 คน เป็นเด็กที่มีปัญหาทางภาวะโภชนาการเตี้ยจำนวน 7 คน ด้านผอมจำนวน 6 คน โดยมีปัญหาทางภาวะโภชนาการด้านเตี้ย จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 7.9 ด้านผอมจำนวน 26 คนคิดเป็นร้อยละ 7.3 ทั้งเตี้ยและผอมจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.6 รวมทั้งสิ้น 56 คน   ผลจากการดำเนินงาน เด็กที่มีปัญหาทางภาวะโภชนาการด้านเตี้ยจำนวน 28 คน ดีขึ้น 20 คน คงเดิม
7 คน และแย่ลง 1 คน เด็กที่มีปัญหาทางภาวะโภชนาการด้านผอม จำนวน 26 คน ดีขึ้น 14 คน คงเดิม 12 คน
เด็กที่มีปัญหาทางภาวะโภชนาการทั้งเตี้ยและผอม จำนวน 2 คน ดีขึ้น 2 คน โดยสรุปดีขึ้นจำนวน 36 คน คิดเป็น ร้อยละ 64.29 คงเดิมจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 33.93 และแย่ลง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.79 (ซึ่งมีปัญหาทางด้านพัฒนาการร่วมด้วย) ดังนั้น กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ/พัฒนาการ/วัคซีน เด็กแรกเกิด - ๖ ปี ในชุมชน ๑๑ ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี ๒๕๖5” เพื่อการดูแลส่งเสริมให้เด็กแรกเกิด - ๖ ปี ได้รับการดูแลในเรื่องการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านต่างๆ ของเด็กตามวัยได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ เพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยและอนาคตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเด็กแรกเกิด - 6 ปี ในเรื่องภาวะโภชนาการ

เด็กแรกเกิด - 6 ปี ในเขตรับผิดชอบได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างน้อยร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเด็กแรกเกิด - 6 ปี ในเรื่องภาวะโภชนาการ/พัฒนาการ/วัคซีน ให้ได้ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เด็กแรกเกิด - 6 ปี ในเขตรับผิดชอบ 11 ชุมชน ที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ/พัฒนาการ/วัคซีนได้รับการส่งเสริมดูแลอย่างต่อเนื่อง

0.00
3 เพื่อส่งเสริมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเด็กแรกเกิด - 6 ปี ที่ด้อยโอกาสและมีปัญหาสุขภาพ

เด็กแรกเกิด - 6 ปี ในเขตรับผิดชอบ 11 ชุมชน ที่ด้อยโอกาสและมีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลทุกคน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 49 56,890.00 4 56,890.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมดำเนินการสำรวจเด็กแรกเกิด - 6 ปี ในละแวกที่รับผิดชอบพร้อมทั้งชั่งน้ำหนัก เด็กแรกเกิด - 6 ปี ใน ชุมชน 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ทุก 3 เดือนจำนวน 4 ครั้ง/ปี 0 0.00 0.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมติดตามการได้รับวัคซีนในเด็กแรกเกิด - 6 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 0 0.00 0.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมการประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 6 ปี ในชุมชน 0 0.00 0.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมแก้ไขปัญหาทางภาวะโภชนาการ, เด็กแรกเกิด - 6 ปี จำนวน 49 คน 49 56,890.00 56,890.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุม อสม.ที่ 11 ชุมชมร่วมกันในการดำเนินงาน 2. จัดทำแผน/โครงการ เพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง 3. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   4. ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข เรื่องการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ/พัฒนาการ/วัคซีนเด็กแรกเกิด - ๖ ปี ในชุมชน 5. จัดทำแบบบันทึกต่าง ๆ เป็นรายชุนชม ขั้นดำเนินงาน 1. ดำเนินการสำรวจเด็กแรกเกิด - 6 ปี ในละแวกที่รับผิดชอบพร้อมทั้งชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด - 6 ปี ใน ชุมชน 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขพร้อมเปรียบเทียบเกณฑ์ 2. ติดตามการได้รับวัคซีนในเด็กแรกเกิด - 6 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ 3. ทำการประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 6 ปี ตามแบบบันทึกเกณฑ์ประเมินพัฒนาการเด็กตามวัย โดยอาสาสมัครสาธารณสุข 5. จัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ,พัฒนาการ พร้อมให้คำปรึกษา/ความรู้รายกลุ่ม/รายบุคคล ขั้นประเมินผล
1. ติดตามประเมินซ้ำในชุมชนทุก 3 เดือน 2. ติดตามประเมินผลและวิเคราะห์การดำเนินงาน 3. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กแรกเกิด - 6 ปี ในเขตรับผิดชอบได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างน้อยร้อยละ 80
  2. เด็กแรกเกิด - 6 ปี ในเขตรับผิดชอบ 11 ชุมชน ที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ/พัฒนาการ/วัคซีนได้รับการส่งเสริมดูแลอย่างต่อเนื่อง
  3. เด็กแรกเกิด - 6 ปี ในเขตรับผิดชอบ 11 ชุมชน ที่ด้อยโอกาสและมีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 11:00 น.