กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วน ลดพุง ลดเสี่ยง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2560
งบประมาณ 31,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาลีนาเจ๊ะแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิดล อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.551,101.166place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆจากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันพบว่าโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆจากการเปิดเผยข้อมูลของชมรมโภชนวิทยามหิดลในปี2552 พบว่าสถิติคนไทยตายด้วยโรคกลุ่มเมตาบอลิกซินโดรมหรืออ้วนลงพุงได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคหลอดเลือดสมองและโรคเบาหวานรวมวันละ216คนหรือชั่วโมงละ10คนนั่นคือทุก6นาที ต่อ 1 คน ปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคอาหารรสหวานมันเค็มเพิ่มขึ้นรับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกาย จากผลการคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปในตำบลลิดลจำนวน 2,048 คน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน866คนคิดเป็นร้อยละ42.28และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง จำนวน 200 คนพบว่า ร้อยละ 89 กินผักผลไม้น้อยกว่าครึ่งกิโลกรัม ร้อยละ 51 ไม่ออกกำลังกายและร้อยละ 48 ชอบกินอาหารรสเค็ม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยง ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ อันจะนำไปสู่ความตระหนักในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรค อีกทั้งยังขาดทักษะที่ถูกต้องในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดลจึงได้ทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วน ลดพุง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลาปี 2560 โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลลิดล ทั้งนี้ได้นำแนวคิดพฤติกรรมสุขภาพการเพิ่มพลังอำนาจในตนเองให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนรวมทั้งมีแนวทางและเกิดทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งจะเสริมให้ทรัพยากรบุคลเป็นทุนมนุษย์ที่แข็งแรงของหน่วยงานและสังคมและประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 มีความรู้และทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3อ.2ส.

 

2 . เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

 

3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80มีสภาวะสุขภาพดีขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
อบต.ลิดล 2 ดำเนินการตามโครงการดังนี้ 2.1. สำรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 2.2. รับสมัครกลุ่มเสี่ยงผู้เข้าร่วมโครงการฯ หมู่บ้านละ10 คน จำนวน 5 หมู่บ้าน
รวมทั้งสิ้น 50 คน 2.3. อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ร่วมโครงการฯ โดยใช้หลักการ 3 อ. 2 ส.
โดยจัดอบรม 5 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 เรื่อง สถานการณ์ ความรุนแรงและความรู้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สาธิตโมเดลอาหาร และกิจกรรมการสร้างพลังในตนเอง - ครั้งที่ 2 ฝึกปฏิบัติการบริหารร่างกายโดยใช้ยางยืด สาธิตโมเดลอาหาร( ธงโภชนาการ อาหารแลกเปลี่ยน)และฝึกปฏิบัติการบริหารร่างกายแบบมณีเวช - ครั้งที่ 3 พิษภัยของบุหรี่ แนวทางการเลิกบุหรี่สาธิต/ฝึกปฏิบัติการปลูกผักไร้สารในครัวเรือน และสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ - ครั้ง ที่ 4 ฝึกปฏิบัติการบริหารร่างกายโดยใช้ยางยืด/ การแกว่งแขน ฝึกปฏิบัติการบริหารร่างกายแบบมณีเวช และจัดเวทีแลกเปลี่ยนให้บุคคลต้นแบบบรรยาย/สาธิต การประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการ - ครั้งที่ 5 จัดเวทีแลกเปลี่ยนให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นบุคคลต้นแบบ จำนวน 10 คน นำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันการจัดแสดงพืชผักไร้สารที่ปลูกโดยผู้เข้าร่วมโครงการ และมอบรางวัลบุคคลต้นแบบโดยประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.ลิดล 2.4. ประเมินพฤติกรรม 3อ. 2ส. ก่อนอบรม และหลังอบรม เป็นระยะ ทุกเดือน 2.5. ประเมินสภาวะสุขภาพก่อนอบรม และหลังอบรม เป็นระยะ ทุก 2 สัปดาห์ 2.6. จัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องแนวทางการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นำไปติดตั้งที่มัสยิด และร้านน้ำชา ทั้ง 5 หมู่บ้าน จำนวน 20 จุด 2.7. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อครบ 6 เดือน ( ในการอบรมครั้งที่ 5 )พร้อมทั้งประเมินสภาวะสุขภาพครั้งสุดท้าย เพื่อคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนมีสุขภาพที่ดีขึ้น และมอบเกียรติบัตร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 มีความรู้และทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2ส.
    1. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
    2. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80มีสภาวะสุขภาพดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2559 12:28 น.