กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารในครัวเรือน
รหัสโครงการ 65-L2477-206
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มร่วมใจอาสา พัฒนาถิ่นชุมชนไอร์ปีแซ
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 18 มีนาคม 2565
งบประมาณ 24,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮาฟิซ ตีเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 มี.ค. 2565 18 มี.ค. 2565 24,290.00
รวมงบประมาณ 24,290.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนยังขาดความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี(ครัวเรือน)
60.00
2 จำนวนครัวเรือนที่ปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือนลดลง(ครัวเรือน)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง หากบริโภคเป็นประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวบกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งจากการสุ่มตรวจผักและผลไม้ประจำปี 2563-2564 ของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN พบว่า มีผักและผลไม้มากถึง 58.7 % ที่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน ทั้งนี้โดยผักที่พบการตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุดคือ มะเขือเทศผลเล็ก พริกขี้หนู พริกแดง ขึ้นฉ่าย คะน้า พบตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมดทุกตัวอย่าง (100%) จากที่เก็บมาชนิดละ 16 ตัวอย่าง ผักผลไม้ที่พบการตกค้างรองลงมาได้แก่ กะเพรา (81%) มะระ (62%) ผักบุ้ง (62%) หัวไชเท้า (56%) บร็อกโคลี (50%) ถั่วฝักยาว (44%) แครอท (19%) กระเจี๊ยบเขียว (6%) และหน่อไม้ฝรั่ง (6%) เป็นต้น เมื่อจำแนกตามแหล่งจำหน่ายระหว่างห้างกับตลาดสดทั่วไปนั้น พบว่า ผักและผลไม้จากตลาดทั่วไป พบสารตกค้าง 60.1% ส่วนห้างพบการตกค้างน้อยกว่าเล็กน้อยที่ระดับ 56.7%

จากข้อมูลข้างต้นทำให้ผู้บริโภคผักผลไม้ในพื้นที่ชุมชนบ้านไอร์ปีแซ ยังอยู่ในความเสี่ยงเรื่องสารพิษตกค้างที่จะสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่นิยมซื้อผักผลไม้จากรถเร่ขายกับข้าว และตามตลาดนัดต่างๆ ซึ่งสาเหตุที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่นิยมปลูก เพราะการหาซื้อตามรถเร่และตลาดนัดเป็นเรื่องที่สะดวกกว่า ดังนั้น จะต้องส่งเสริมให้ครัวเรือนปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในบริเวณบ้านไว้รับประทานเอง และการปลูกนั้นยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอีกด้วย

กลุ่มร่วมใจอาสา พัฒนาถิ่นชุมชนไอร์ปีแซ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารในครัวเรือนขึ้น เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารเคมีมากขึ้นจนเกิดวิถีการปลูกที่ไร้สารเคมีสามารถนำไปใช้บริโภคในครัวเรือน แบ่งปันในชุมชนและทำให้การซื้อผักตามแหล่งต่างๆของแต่ละครัวเรือนลดลง ตลอดจนมีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูก การบริโภคผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้น

60.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริม/เพิ่มการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน

ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้น

60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,290.00 4 24,290.00
4 มี.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่างๆในการดำเนินงาน 0 1,790.00 1,790.00
12 มี.ค. 65 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ การตระหนักถึงโทษของสารเคมีและกระตุ้นให้มีการปลูกผักปลอดสารในครัวเรือน 0 12,300.00 12,300.00
26 มี.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 ครัวเรือนลงมือปฏิบัติ/ลงมือปลูกผักปลอดสารเคมี 0 10,200.00 10,200.00
9 เม.ย. 65 - 31 ก.ค. 65 ติดตามผล เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละครัวเรือน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปลูก การบริโภคผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้น
2.ครัวเรือนมีการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือนเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2565 00:00 น.