กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โรงเรียนบ้านเกาะปุด
รหัสโครงการ 65-L1475-05-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเกาะปุด
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 99,770.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวารัตดา อินนุรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาว์ดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
80.00
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
80.00
3 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข      ของประเทศ ทั้งด้านการควบคุมโรคและการเข้าถึงระบบการรักษา จังหวัดตรังจึงมีคำสั่ง ที่ 4939/2564    เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดตรัง        ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขในการใช้การตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและ    ผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง    โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง      ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการนี้ มีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน onsite ด้วยชุดตรวจ เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ โรงเรียนบ้านเกาะปุดจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา          (Covid-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

80.00 100.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

80.00 100.00
3 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

80.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิธีการดำเนินงาน
    กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ คัดกรอง • ค่าเจลล้างมือ จำนวน 60 ลิตร ลิตรละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท • ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง (ATK) จำนวน 850 ชุด ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน  68,000 บาท • ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 100 กล่อง กล่องละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท • หมวกคลุมผม จำนวน 6 แพ็ค แพ็คละ 130 บาท เป็นเงิน 780 บาท • ค่าถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค 10 กล่อง กล่องละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน 4 ขวด ขวดละ 500 ml. ขวดละ 1,590 บาท เป็นเงิน 6,360 บาท • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 530 บาท เป็นเงิน 1,060 บาท
    • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสแกนมือ ขาตั้ง มีเจล จำนวน 2 ชุด ชุดละ 1,890 บาท 3,780 บาท
    • ค่าถ่ายเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับ เกี่ยวกับการป้องกันการระบาด / ป้องกัน    การติดเชื้อโรคโควิด 19 / แนวทางการปฎิบัติตัว New Normal , DMHTT    แผ่นพับ จำนวน 124 ชุด ชุดละ 10 บาท  1,240 บาท • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2*1.5 ตารางเมตรๆ ละ 150 บาท  450 บาท • ค่าถังขยะและถุงขยะติดเชื้อ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 1,050 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
                                              รวมทั้งสิ้น  99,770 บาท
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่าง ใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน 8.2 นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนปฏิบัติตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรค มีพฤติกรรมที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อโควิด-19

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2565 13:46 น.