กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยะแลกบุญ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
รหัสโครงการ L 4161 - 2560 - 15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงย
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีย๊ะสิการาเสาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.473,101.349place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 40,040.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 40,040.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นชอบ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหากำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกต้องและตกค้างสะสม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และได้สั่งการให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ทั้งในกรุงเทพมหานคร ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ในทุกมิติ โดยมีแนวทางปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ 1) กำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่ กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่วิกฤต (ขยะมูลฝอยเก่า) 2)สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เหมาะสม (ขยะมูลฝอยใหม่) เน้นการลดและการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ค้นทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบศูนย์รวม กำจัดโดยเทคโนโลยีแบบผสมผสานเน้นการแปรรูปเป็นพลังงานหรือทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3) วางระเบียบ มาตรการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 4)สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน เน้นให้ความรู้ประชาชน และบังคับใช้กฎหมายและคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ลงมติเห็นด้วยกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระยะสั้น (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๐) ประกอบกับนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา) ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ซึ่งเผยแพร่ออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2559 เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นรูปธรรม และได้รับมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในกาดรจัดทำแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1ปี โดยใช้หลักการ 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยในภาพรวมของประเทศลดลงร้อยละ 5 จากอัตราการเกิดขยะมูลฝอย ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำแนวทางปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ซึ่งมีหลักการสำคัญด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ในระดับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดให้เกิดผลตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

ตำบลบาโงยเป็นตำบลขนาดเล็ก มีประชากร 2,844 คน และจำนวน 778 ครัวเรือน เป็นชุมชนที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ปัจจุบันพื้นที่ตำบลบาโงยมีการจัดการเรื่องขยะด้วยครัวเรือนมีการจัดการตนเอง โดยมีหน่วยงานในพื้นที่คอยให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการแก้ปัญหาขยะตลอดเรื่อยมา ประกอบกับนโยบายผู้บริหารท้องถิ่นจะไม่มีการการดำเนินการจัดซื้อรถขยะ เนื่องจากสิ้นเปลืองงบประมาณและปัญหาด้านรายจ่ายที่ไม่เพียงพอ ปัญหาขยะในปัจจุบันของพื้นที่ตำบลบาโงยยังคงมีให้เห็นเนื่องจากประชาชนขาดจิตสำนึก มีการทิ้งขยะบริเวณข้างทาง และ จากความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของประชากร ตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราได้เปลี่ยนไปจากเดิมทำให้เกิดมูลฝอย และของเสียอันตรายเพิ่มขึ้นไปด้วย ผลกระทบที่ตามมามีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมูลพิษทางน้า ทางดินเสื่อมสภาพ ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวน รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยได้มีการดำเนินโครงการชุมชนปลอดขยะอย่างยืน โดยมีกิจกรรมในการให้ความรู้กับครัวเรือนในการคัดแยกขยะในครัวเรือนพร้อมทั้งปลุกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักเกี่ยวกับปันหาขยะและได้มีการกำหนดจุดทิ้งขยะอันตรายของชุมชน ทั้ง 4 หมู่บ้าน และให้มารวบรวมไว้ที่ อบต. เพื่อดำเนินการจัดส่งให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลานำไปดำเนินการกำจัดต่อไปและเพื่อให้การขับเคลื่อน Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี โดยใช้หลักการ 3Rs คือการใช้น้อย ใช้ซ้ำนำกลับมาใช้ใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อดำเนินโครงการ “ขยะแลกบุญ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยโดยการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลออกจากขยะมูลฝอย โดยใช้แนวทางทางศาสนาที่กล่าวว่า “ ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ” และหลักการจ่ายซากาต การทำบุญมาเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม โดยรับบริจาคขยะรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยกจากครัวเรือนแล้วเช่น ขวดน้ำ ขวดพลาสติก เป็นต้น โดยตั้งจุดรับบริจาคตามมัสยิดในแต่ละหมู่บ้านตามวันและเวลาที่กำหนด เพื่อนำไปจำหน่ายและนำรายได้ที่ได้รับไปบริจาคให้กับตาดีกาในพื้นที่ตำบลบาโงยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะ

 

2 2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเองและผู้อื่น

 

3 3. ลดปริมาณขยะมูลฝอย สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความรำคาญต่อชุมชน

 

4 4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากขยะมีพิษ และสิ่งปฏิกูลต่างๆ

 

5 5 เพื่อเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมถิ่นเกิดการจัดการขยะมูลฝอยการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลมาจากขยะมีพิษและสิ่งปฏิกูลต่างๆและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นสอดคล้องหลักการของเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

 

6 6. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลดใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทิ้งขยะมูลฝอยนำไปสู่แนวทางการป้องกันปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในอนาคต

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการประชุมคณะกรรมการในพื้นที่เพื่อวางรูปแบบในการดำเนินกิจกรรม
    1. ประชาสัมพันธ์ / รณรงค์ การดำเนินกิจกรรม
  2. กำหนดหมู่บ้านนำร่อง และคัดเลือกหมู่บ้านในกลุ่มเป้าหมาย
  3. ดำเนินการรับสมัครเพื่อเป็นสมาชิกโครงการ
    1. จัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
    2. ดำเนินกิจกรรมตามปฏิทินที่วางไว้
    3. ประเมินผลกิจกรรม
    4. มอบประกาศให้กับครัวเรือนต้นแบบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะ
    1. สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเองและผู้อื่น
    2. ลดปริมาณขยะมูลฝอย สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความรำคาญต่อชุมชน
    3. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากขยะมีพิษ และสิ่งปฏิกูลต่างๆ 5 สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมถิ่นเกิดการจัดการขยะมูลฝอยการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลมาจากขยะมีพิษและสิ่งปฏิกูลต่างๆและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นสอดคล้องหลักการของเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
    4. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลดใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทิ้งขยะมูลฝอยนำไปสู่แนวทางการป้องกันปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในอนาคต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2560 08:34 น.