กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมเด็กสุขภาพดี โภชนาการสมส่วน พัฒนาการสมวัย ปี2565
รหัสโครงการ 65-L4148-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 35,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาซีย๊ะ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนันทิดา ไชยลาภ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรกเกิด เด็ก เป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยก่อนเรียนเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ประกอบกับการมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากการมีภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาของเด็ก จากข้อมูลงานการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 3 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบาโร๊ะ ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 (ข้อมูลจาก HDC ) เด็กอายุ แรกเกิด - 3 ปี จำนวน 533 คน ดำเนินการชั่งน้ำหนักจำนวน 529 คน คิดเป็นร้อยละ 99.25 พบว่า เด็กที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน จำนวน 272 คน คิดเป็นร้อยละ 51.42 เด็กมีภาวะทุพโภชนาการเด็กที่เตี้ย จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 23.25 เด็กที่ผอม จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 6.61 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายให้เด็กวัยก่อนเรียน (แรกเกิด - 3 ปี) เด็กมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนร้อยละ 62 เด็กที่เตี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 10 เด็กที่ผอมต้องไม่เกินร้อยละ 4 จากการทำเวทีประชาคมประเด็นที่เกี่ยวข้องที่เป็นสาเหตุต่อการพัฒนางานโภชนาการและพัฒนาการเด็ก สาเหตุมาจากหลายๆปัจจัยคือ การเลี้ยงดูของผู้ปกครองและพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการขาดความรู้ความตระหนักถึงการให้อาหารเสริมตามวัยและขาดการสังเกตพัฒนาการของลูก ครอบครัวมีฐานะยากจน เด็กส่วนหนึ่งที่อยู่ในการดูแลที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นเด็กที่ขาดสารอาหารและพัฒนาการล่าช้า เช่นเดียวกัน จึงทำให้พบปัญหาเด็กขาดสารและพัฒนาการไม่สมวัย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ทั้งนี้จึงมีการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านเพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจในการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง และผู้ปกครองมีความรู้ความตระหนักในการดูแลบุตรอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ในพื้นที่ส่งเสริมให้เด็กได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแล สุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี อีกทั้งต้องพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร ได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ ดูแลเด็ก ได้ดียิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมเด็กสุขภาพดี โภชนาการสมส่วน พัฒนาการสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด - 3 ปี มีการเจริญเติบโตภาวะโภชนาการมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น

เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด - 3 ปี มีการเจริญเติบโตภาวะโภชนาการมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 65

0.00
2 2 เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด - 3 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85

เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด - 3 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85.

0.00
3 3 เพื่อส่งเสริมผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร มีความรู้เรื่องโภชนาการและทักษะในการเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัย

เพื่อส่งเสริมผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร มีความรู้เรื่องโภชนาการและทักษะในการเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 206 35,650.00 0 0.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมฟื้นฟูความรู้แก่แกนนำด้านสุขภาพในพื้นที่ 206 35,650.00 -
  • ให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง,ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารในโรงเรียนและ
      ศูนย์เด็กเล็กทุกที่
  • รณรงค์ประชาสัมพันธ์ โครงการในพื้นที่
  • ให้โภชนาการศึกษาและสาธิตอาหารแก่ผู้ปกครองเด็กเรื่องการให้อาหารเสริมตามวัยแก่เด็ก
    • สนับสนุนอาหารเสริม (นม).ให้แก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กแรกเกิด - 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
  • สนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนักเด็กดิจิตอลแบบนอน.อาสาสมัครสาธารณสุขนำร่อง 3 หมู่บ้าน
  • เฝ้าระวังภาวะโภชนาการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามวัย ในเด็กอายุ แรกเกิด - 3 ปี ทุกคนในเขต
      รับผิดชอบ พร้อมแปรผลทั้งสามกราฟให้ผู้ปกครองทราบ และบันทึกผลเพื่อเฝ้าระวัง ติดตามภาวะ   โภชนาการ 4 ครั้ง/ปี
  • ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทุกราย เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้า
      ภาวะทุพโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง
  • จ่ายยาถ่ายพยาธิแก่เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ทุกราย ทุก 6 เดือน ในเด็กอายุ 2 ปี- 3 ปี
  • จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก ในเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ทุกราย
  • ติดตามการกินยาถ่ายพยาธิและยาเสริมธาตุเหล็กโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  • ติดตามเจาะเลือดเพื่อดูความเข้มข้นของเลือดในเด็กที่มีอายุ 6 เดือน - 12 เดือน ทุกราย พร้อม
            ส่งต่อเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการล่าช้าทุกรายพบแพทย์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด – 3 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 2 เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด – 3 ปี มีสวนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้นประเมินผลข้อมูลจาก HDC และจากกราฟการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก
3 เพื่อส่งเสริมเพิ่มศักยภาพผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้การประเมินเรื่องโภชนาการและทักษะในการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กตามวัย และสามารถส่งต่อเพื่อรับการรักษายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2565 09:37 น.