กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรงเรียนวัดหน้าเมือง
รหัสโครงการ 65-L5225-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดหน้าเมือง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 63,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชมชุรัช คิ้วนาง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 116 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง  พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของ  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัด ที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ    ซึ่งจังหวัดสงขลาอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจุบันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicrom) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล ฉะนั้นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิด    ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก    New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting  มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน on-site ด้วยชุด ตรวจ ATK เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การเปิดเรียน On-site จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดหน้าเมือง ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ในเบื้องต้น ทุกวันก่อนเข้าในพื้นที่บริเวณโรงเรียน

นักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดหน้าเมืองได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ในเบื้องต้น ทุกวันก่อนเข้าในพื้นที่บริเวณโรงเรียน ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดหน้าเมือง ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ด้วยชุดตรวจ ATK (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม 2565 ตามแผนการตรวจที่โรงเรียนกำหนดให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง

นักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดหน้าเมืองได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ด้วยชุดตรวจ ATK  (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม  2565  ตามแผนการตรวจที่โรงเรียนกำหนดให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่  รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง

0.00
3 เพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคจุดสัมผัสเสี่ยงในบริเวณห้องเรียนและโรงเรียน

มีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคจุดสัมผัสเสี่ยงในบริเวณห้องเรียนและโรงเรียนทุกวัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 116 63,460.00 0 0.00
1 ก.พ. 65 - 31 ส.ค. 65 ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรงเรียนวัดหน้าเมือง 116 63,460.00 -
  1. เสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. เมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณจึงดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรงเรียนวัดหน้าเมือง ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 คัดกรองเบื้องต้นนักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดหน้าเมือง ทุกวันก่อนเข้าในพื้นที่บริเวณโรงเรียน โดยการวัดอุณหภูมิร่างกาย ล้างมือด้วยเจลล้างมือก่อนเข้าในบริเวณโรงเรียน กิจกรรมที่ 2 คัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดหน้าเมือง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ในโรงเรียน (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม 2565  ตามแผนการตรวจที่โรงเรียนกำหนดให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง) กิจกรรมที่ 3 ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคจุดสัมผัสเสี่ยงในบริเวณห้องเรียนและโรงเรียน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) ในโรงเรียนวัดหน้าเมือง
  3. รายงานผลการดำเนินงาน/สรุปผลการดำเนินงาน ต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง ภายใน 30 วันหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดหน้าเมืองได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19) เบื้องต้น ทุกวันก่อนเข้าในพื้นที่บริเวณโรงเรียน
  2. นักเรียน ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดหน้าเมืองได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ด้วยชุดตรวจ ATK (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม 2565  ตามแผนการตรวจที่โรงเรียนกำหนดให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง
  3. มีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคจุดสัมผัสเสี่ยงในบริเวณห้องเรียนและโรงเรียนทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid -19) ในโรงเรียนวัดหน้าเมือง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2565 14:24 น.