กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L1475-05-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 175,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกาศ โพชสาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาว์ดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2563 -2564) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2565 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000 – 16,000 รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน - กันยายน)
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง  พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย  จึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลนาข้าวเสีย ปีงบประมาณ ๒๕๖5” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคในชุมชนลดลง
80.00
2 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1 ของชุมชน  โรงเรียน และวัด
80.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค
80.00
4 4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑) เขียนโครงการและเสนอโครงการแก่ผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ
๒) ดำเนินการจัดซื้อทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย สารออกฤทธิ์กำจัดยุงและโลชั่นทากันยุง ๓) ดำเนินการมอบทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย สารออกฤทธิ์กำจัดยุงและโลชั่นทากันยุงร่วมกับ รพ.สต. ในพื้นที่ เพื่อร่วมรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลนาข้าวเสีย
๔) จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ จำนวน ๑ ครั้ง ๕) จัดกิจกรรมการสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียนและวัด โดยการประสานกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ จำนวน ๔ ครั้ง ๖) ดำเนินการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ วัดและโรงเรียน ๓ เดือนต่อครั้งและดำเนินการพ่นหมอกควันในกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในรัศมี 100 เมตร บริเวณรอบๆบ้านพักที่เกิดโรค ๗) รวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานผลโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2565

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคในชุมชนลดลง
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1 ของชุมชน โรงเรียน และวัด
  3. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2565 15:27 น.