กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด
รหัสโครงการ L5300-65-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 32,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอำภรณ์ หวันยาวา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1644 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งผู้ป่วยโรค  โควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และบางคนหายจากโรคนี้ได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาพิเศษ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจป่วยหนักและเสียชีวิต ซึ่งสถานการณ์ในจังหวัดสตูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 67 ราย ผู้ป่วยสะสม 7,806 ราย เสียชีวิตสะสม 87 ราย รักษาหายสะสม 6,359 ราย กำลังรักษา 1,649 ราย แม้ว่าตามรายงานสถานการณ์ของโควิด-19 ในจังหวัดสตูล พบผู้ป่วยลดลง แต่เนื่องจากตอนนี้มีการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 และเกิดการระบาดของโควิด-19 โอไมครอนในหลายประเทศ และพบผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าวในประเทศไทย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระบาดขึ้นอีกระลอก เพราะการกลายพันธุ์โรคโควิด-19 ชนิดใหม่นี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในหลายประเทศกังวลว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ เนื่องจากไวรัสมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิต้านทานได้มากขึ้น จึงมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง แต่ก็ยังช่วยลดความรุนแรงจากการป่วยหนักได้ แต่หากมีการแพร่ระบาดลามออกไปเป็นวงกว้าง ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตอีกครั้ง
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ จึงจัดทำโครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัย COVID -19 หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

80.00 95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,670.00 4 32,670.00
1 - 28 ก.พ. 65 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ อสม. ฝ่ายปกครอง และแกนนำในชุมชน 0 750.00 750.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 ค้นหา/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID -19) เพื่อเฝ้าระวัง/การแยกกักตัวที่บ้าน 0 26,670.00 26,670.00
1 มี.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 ประชุมประเมินสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID -19) เป็นรายเดือน 0 4,500.00 4,500.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ 0 750.00 750.00

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ อสม. ฝ่ายปกครอง และแกนนำในชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับบุคลากรด้านสาธารณสุขเมื่อมีการสัมผัสกับผู้ป่วย
กิจกรรมที่ 2 ค้นหา/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID -19) เพื่อเฝ้าระวัง/การแยกกักตัวที่บ้าน 2.1 ประเมินอาการ จากการซักประวัติการสัมผัสกลุ่มเสี่ยงของโรค COVID -19 2.2 จัดทีมลงพื้นที่โดยแบ่งเป็นชุมชนทั้งหมด 3 ชุมชน ประกอบด้วย
-ชุมชนบ้านกลาง -ชุมชนบ้านใต้ -ชุมชนบ้านเหนือ เพื่อติดตามและเฝ้าระวัง ให้ความรู้ในการดูแลตนเอง ในรายที่ตรวจพบว่ามีภาวะเสี่ยงตามแนวทางของกรมควบคุมโรค   - ประเมินอาการไข้ จากการวัดอุณหภูมิอินฟาเรด   - แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี   - แนะนำการหลีกเลี่ยงการสัมผัส และการล้างมืออย่างถูกวิธี กิจกรรมที่ 3. ประชุมประเมินสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID -19) เป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง กิจกรรมที่ 4. ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคลองขุดทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต
1. สามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงสูงโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) เข้ารับการกักตัวสังเกตอาการ ร้อยละ 100
2. บุคคลกลุ่มเสี่ยงสูงโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีการเฝ้าระวัง ป้องกันเป็นไปตามที่มาตรการที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้ ร้อยละ 100
ผลลัพธ์
มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2565 09:49 น.