กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหา
รหัสโครงการ 65-L1460-02-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2565
งบประมาณ 16,365.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฐญาภรณ์ งามวิริยะรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.338,99.515place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 129 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหา หรือที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pediculus humanus เป็นแมลงในกลุ่มปรสิต อาศัยอยู่บนร่างกายคนและดำรงชีวิตด้วยการกินขี้ไคลบนหนังศีรษะของคนเรา เหามีมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งบางส่วนเป็นปรสิตอยู่ในสัตว์แต่ที่เป็นชนิดที่อยู่ในคนนั้นมีเพียงแค่ 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนหนังศีรษะ เหาที่เกาะอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และเหาบริเวณอวัยวะเพศ หรือโลน โดยเหาแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆของร่างกาย อาทิเช่น บนศีรษะ บนร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศ เหาสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการอยู่ใกล้ชิดและคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเหา จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเหานั้นก็มักจะถูกสังคมรังเกียจ ซึ่งอาการที่มักพบได้จากคนที่เป็นเหาก็คืออาการคันและเป็นแผลติดเชื้อบนหนังศีรษะ อันเนื่องมาจากการระคายเคือง นอกจากนี้เหายังชอบวางไข่เอาไว้ตามเส้นผมของเราจนทำให้เห็นเป็นจุดขาวๆตามเส้นผมแถมยังเกาะเเน่นอีกด้วย โดยจะไม่หลุดไปถึงแม้ว่าจะหายเป็นเหาแล้วก็ตาม
    โรคเหาเป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มนักเรียน ตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น โดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90% ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น เนื่องจากมีอาการคันหนังศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำ โดยใช้ยาเพื่อฆ่าเหา ซึ่งยามีทั้งในรูปครีม แชมพู เจล หรืโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน
  โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยมที่เป็นโรคเหา และส่งเสริมการป้องกันการเป็นเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ และการกำจัดเหานักเรียนหญิงในโรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยมที่ถูกวิธี

1.ร้อยละของนักเรียนและผู้ปกครองได้รับความรู้การกำจัดเหาที่ถูกวิธี และถูกสุขอนามัย 2.ร้อยละของนักเรียนได้รับการกำจัดเหา

0.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น

1.ร้อยละของนักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มมากขึ้น 2.ร้อยละของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นในระดับดี

0.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนมีบุคลิกภาพ และส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้ดีขึ้น

1.ร้อยละของนักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,365.00 0 0.00
1 - 30 พ.ย. 64 ประชุมชี้แจงคุณครูและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 0 0.00 -
1 ธ.ค. 64 - 31 ส.ค. 65 จัดการซื้อยากำจัดเหา และอุปกรณ์ในการกำจัดเหา 0 10,840.00 -
1 ธ.ค. 64 - 31 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการดูแลรักษาสุขภาพ การกำจัดเหาที่ถูกต้องให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม 0 5,525.00 -
1 ม.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมการกำจัดเหาพร้อมแจกยากำจัดเหาให้นักเรียนเพื่อรักษาต่อที่บ้าน 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม) เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ประชุมชี้แจงคุณครูและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน จัดซื้อยากำจัดเหา และอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดเหา ประสานงานขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าสาธารณสุข อำเภอกันตัง ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการกำจัดเหา และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบ กำจัดเหาให้นักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยมและอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียนในเรื่องวิธีการดูแลรักษาสุขภาพและการกำจัดเหาที่ถูกวิธี แจกยากำจัดเหาให้ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้การกำจัดเหาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สรุปรายงานผลฌโครงการ/กิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยมทุกคน ได้รับการกำจัดเหา และรู้วิธีในการดูแลรักษาสุขภาพ และการกำจัดเหาที่ถูกต้อง
  2. นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น
  3. นักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 13:36 น.