กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวังวิเศษรวมใจสู้ภัยโควิด 19
รหัสโครงการ 65-L1516-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวังวิเศษ
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 28 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 267,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปราโมทย์ สุทธิรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งในปัจจุบันยังระบาดในหลายจังหวัด ทางโรงเรียนจึงได้วางมาตรการในการป้องกันโรค เพื่อยับยั้งและควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่นักเรียน ครู และผู้ปกครองนั้น โรงเรียนวังวิเศษ ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
จัดให้มีจุดคัดกรอง เจลล้างมือหน้าห้องเรียน อ่างล้างมืออย่างเพียงพอ น้ำยาทำความสะอาดก่อนใช้และหลังใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนและบุคลากร เพื่อความปลอดภัยของทุกคน โรงเรียนวังวิเศษ จึงจัดทำและเสนอโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน บุคลากร และผู้รับบริการ เกิดความตระหนักและสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  1. นักเรียน บุคลากร และผู้รับบริการ เกิดความตระหนักและสามารถป้องกันตนเองจากโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
0.00
2 เพื่อให้นักเรียน บุคลากร และผู้รับบริการเห็นความสำคัญและร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  1. นักเรียน บุคลากร และผู้รับบริการ เห็นความสำคัญและร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
0.00
3 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากร ได้รับการสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  1. นักเรียนและบุคลากร ได้รับการสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
1. จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้
2. จัดประชุม ชี้แจง ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน แจ้งแนวทางและมาตรการในการดำเนินงานแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
3. วิเคราะห์สถานการณ์และแจ้งเตือน
4. เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ

ขั้นดำเนินการ
ดำเนินการตามกิจกรรม ดังนี้

  • จัดให้มีเจลล้างมือตรงจุดคัดกรอง หน้าห้องเรียนทุกห้องและห้องบริการต่าง ๆ เช่น ห้องพยาบาล ห้องสมุด ฯลฯ

  • จัดให้มีสบู่เหลวล้างมือตรงบริเวณจุดล้างมืออย่างเพียงพอสำหรับนักเรียน บุคลากรและผู้รับบริการ

  • จัดให้มีชุดตรวจ Antigen test kit หรือ ATK สำหรับนักเรียนและบุคลากร

ขั้นสรุป
1. ประเมินผลการทำงานของโครงการ
2. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน บุคลากร และผู้รับบริการ เกิดความตระหนักและสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. นักเรียน บุคลากร และผู้รับบริการ เห็นความสำคัญและร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. นักเรียนและบุคลากร ได้รับการสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2565 14:02 น.