กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเองในเขตตำบลกำแพง
รหัสโครงการ 2565-L8010-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 41,745.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 กระทบทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในขณะที่กลุ่มเปราะบางก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความเครียดและนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ดังที่พบเห็นปรากฏบนสื่อบ่อยครั้งมากขึ้น ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความเครียดที่เพิ่มขึ้น พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลในงาน “ถอดรหัสนวัตกรรมวัคซีนใจในชุมชน 2564” ว่า แรกเริ่มของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการสำรวจความคิดเห็นพบว่า คนมีความคิดฆ่าตัวตายยังต่ำ อยู่ที่ 0.7-0.8% แต่ในช่วงเดือน ส.ค.ปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงพีคของการระบาดมีจำนวนผู้ติดเชื้อหลักหมื่นคนต่อวัน อัตราการเสียชีวิตหลายร้อยคนต่อวัน พบว่า ผู้ตอบคำถามเสี่ยงฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ประมาณ 7-8 % หรือเป็น 10 เท่า และมีแนวโน้มสูงขึ้น สอดคล้องกับที่มีรายงานข่าวการฆ่าตัวตายผ่านสื่อ สัปดาห์ละ 3-4 เหตุการณ์ พบลักษณะการทำร้ายคนอื่นก่อนทำร้ายตัวเองตาม ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในประเทศไทยเดิมอยู่ที่ 6-7 คนต่อประชากรแสนคน ขณะนี้กลับพบว่า เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8 คนต่อประชากรแสนคน

จากข้อมูลงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู พบว่าจำนวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายอำเภอละงู ย้อนหลัง 3 ปีตั้งแต่ ปี 2562 –ปี2564 มีจำนวน 21,22,27 ราย ตามลำดับ ในจำนวนดังกล่าวที่มีภูมิลำเนาในตำบลกำแพง มีจำนวน 6 ,6,15 รายตามลำดับ จำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มีจำนวน 0 ,2,3 รายตามลำดับมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มเสี่ยงคือประชาชนทั่วไปและกลุ่มคนที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป ช่วงวัยทำงาน อายุน้อยที่สุด 13 ปี อายุมากที่สุด 47 ปี ,ปัจจัยกระตุ้นสำคัญให้ลงมือทำร้ายตนเอง ได้แก่ปัญหาเรื่องสัมพันธ์ภาพในภายในครอบครัว ปัญหาหนี้สินวิธีการทำร้ายตนเอง ได้แก่ กินยาเกินขนาด ,ใช้ของมีคม ของแข็ง,กินสารเคมีหรือสารกำจัดแมลง ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จส่วนใหญ่ใช้วิธีการทำร้ายตนเองโดยการผูกคอ รองลงมาคือวิธีการใช้ปืน

จากสถานการณ์ดังกล่าวงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู ได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการส่งเสริมและป้องปัญหา จึงได้จัด “โครงการส่งเสริมป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเองในเขตตำบลกำแพง เพื่อส่งเสริมป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายเพื่อให้แกนนำในชุมชนตำบลกำแพง ได้รับการพัฒนาศักยภาพความสามารถในการดูแล ส่งเสริม และป้องกันผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตในพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาการพยายามฆ่าตัวตายที่จะตามมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในตำบล มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการปัญหาฆ่าตัวตาย
  1. แกนนำสุขภาพในตำบล มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการปัญหาฆ่าตัวตาย ร้อยละ 80
0.00
2 เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่

1.อัตราการพยายามฆ่าตัวตายไม่เกิน 40 ต่อแสนประชากรของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
2.อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากรของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 41,745.00 5 41,745.00
1 - 30 เม.ย. 65 ประชุมแกนนำสุขภาพในตำบล 0 425.00 425.00
1 - 31 พ.ค. 65 ค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองในพื้นที่ 0 500.00 500.00
1 - 30 มิ.ย. 65 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการณ์การส่งเสริมป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย 0 26,505.00 26,505.00
1 - 29 ก.ค. 65 ถอดบทเรียน และวางแผนการแก้ไขและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่ 0 13,315.00 13,315.00
1 - 30 ก.ย. 65 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพจิตมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการปัญหาฆ่าตัวตาย

  2. ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 09:22 น.