กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและคนพิการ
รหัสโครงการ 2565-L3351-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 29 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 20,498.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 128 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้พิการในพื้นที่ (คน)
128.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการจัดบริการดูแลระยะยาว (คน)
37.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ จำเป็นต้องมีญาติ ผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากผู้สูงอายุและผู้พิการจัดเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติเหมือนคนทั่วไป ต้องมีคนคอยดูแล ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกเกือบตลอดเวลาในบางคน และเป็นกลุ่มวัยที่สมรรถภาพร่างกายเสื่อมถอยในทุกๆด้าน เช่น ด้านร่างกาย ความแข็งแรงของร่างกายลดลง ภูมิคุ้มกันร่างกายเริ่มอ่อนแอ เจ็บป่วยง่ายกว่าวัยอื่นๆ ด้านจิตใจพบว่ามี ความเครียด ความกังวล ซึมเศร้า มากกว่าวัยอื่นๆ เช่นกัน ประกอบกับการขาดโอกาสรับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ และการขาดโอกาสรับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องโดยตรง รวมไปถึงขาดการพบปะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและพิการ จากข้อมูลในพื้นที่ตำบลโคกชะงาย จำนวนประชากรทั้งหมด 1211 คน ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2565 มีผู้สูงอายุและผู้พิการในระบบข้อมูลของ รพ.สต.บ้านทุ่งยาว จำนวน 550 คน คิดเป็นร้อยละ 20.92 ของประชากรในพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประชากรที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกลุ่มประชากรวัยอื่นๆเช่นกัน ประกอบกับการดำเนินงานในด้านการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการยังไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่องยั่งยืน เครือข่ายผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ ตำบลโคกชะงาย ประจำปี 2565 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการหรือผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และสามารถช่วยเหลือกันเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล ทุกคน

ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล ทุกคน

87.00 165.00
2 เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและคนพิการมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ

ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและคนพิการมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ทุกคน

87.00 165.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

ผู้สูงอายุและผู้พิการมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

0.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,498.00 3 20,498.00
16 มี.ค. 65 - 29 ก.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการ ญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (อบรม 2 รุ่นๆละ 61 คน) 0 20,498.00 20,498.00
30 มี.ค. 65 - 29 ก.ค. 65 ติดตามและประเมินผลการเพิ่มขึ้นของ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุและผู้พิการ 0 0.00 0.00
22 มิ.ย. 65 เรียนรู้ร่วมกัน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของญาติหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ ถูกต้อง เหมาะสม
  2. ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 00:00 น.