กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
รหัสโครงการ 65-L148301-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 29 เมษายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และมีแนวโน้มสถานการณ์ผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนและสัดส่วน โดยพบว่าประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 7.4 หรืออายุ 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 12 มีการคาดการณ์ว่าอีก 20 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด(Super aged society) ซึ่งหมายถึงมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20 ขึ้นไป หรืออาจกล่าวได้ว่าในอีก 7 ปี ข้างหน้า (พ.ศ.2564) ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์(Aged Society) ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย โดยเฉพาะเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและเป็นโรคที่รักษาไม่หาย โดยในปี พ.ศ.2564 ตำบลบางด้วนมีผู้สูงอายุ จำนวน 639 คน แบ่งกลุ่มตามความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน(ADL) จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มติดสังคม จำนวน 592 คน คิดเป็นร้อยละ 92.64 กลุ่มติดบ้าน จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 5.79 กลุ่มติดเตียง จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.16 ผู้สูงอายุมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น ทำให้มีภาวะพึ่งพึงที่ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและระยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงดำเนินงานโครงการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุตำบลบางด้วน เพื่อให้ผู้สูงอายุประเมินพฤติกรรมสุขภาพของตนเองแบบองค์รวมทั้งสุขภาพกายและจิต โดยใช้สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ(BLUE BOOK) เป็นสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวของตนเอง ทราบข้อมูลสถานะสุขภาพของตนเอง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อประเมินพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบข้อมูลสถานะสุขภาพของตนเอง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 1 30,000.00
1 - 29 เม.ย. 65 โครงการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 0 30,000.00 30,000.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
    1. จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ(BLUE BOOK)
    2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนำวิธีการบันทึกข้อมูลสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุฯ แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และตัวแทนผู้สูงอายุ
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และตัวแทนผู้สูงอายุ แนะนำการบันทึกข้อมูลสุขภาพของตนเองแก่ผู้สูงอายุและใช้เป็นสมุดประจำตัว และส่งต่อข้อมูลให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสรุปข้อมูลการประเมินสุขภาพและแจ้งข้อมูลสถานะสุขภาพแก่ผู้สูงอายุรายบุคคล 6.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพ
2.ผู้สูงอายุทราบข้อมูลสถานะสุขภาพของตนเองและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 00:00 น.