กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โรงเรียนบ้านเกตรี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเกตรี
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 53,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอกราช หมัดสอาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (53,390.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 287 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปถึง 30 กันยายน 2564และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ที่ 11/2564 เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุมตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ 2548ประกาศระบุว่าตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมพ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายนพ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ โควิด-19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑลรวมถึง 4จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดสูงถึง 29 จังหวัดเนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วยทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราการครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้นมีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศซึ่งจังหวัดสตูลอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วยอีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาดเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอโดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรคเช่นเบาหวานความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองและโรคทางเดินหายใจผู้สูงอายุเด็กหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูงหรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูงของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันตามหลัก New Normal และ DMHTT ที่อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนี้มีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอด covid หรือ covid freesetting มีกิจกรรมให้ครูและนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด - 19 ครบถ้วนมีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียนon-siteด้วยชุดเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (covid - 19)ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ชุมชนที่ตั้งใกล้โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา(covid - 19)ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดกระบวนการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (Covid-19)โดยการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคการคัดกรองอุณหภูมิการเว้นระยะห่างทางสังคมการทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการหรือพื้นที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานานและส่งเสริมด้านสุขอนามัยโดยการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์

ป้องกันการเกิดโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (Covid-19)

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) แก่นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรของโรงเรียน

นักเรียน  ผู้ปกครองและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

0.00
3 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

นักเรียน  ผู้ปกครองและบุคลากรของโรงเรียนได้ตระหนักถึงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
5 - 6 ก.พ. 65 คัดกรองATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนบ้านเกตรี 0 53,390.00 -
รวม 0 53,390.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ   1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ   2. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง   3. สถานศึกษาประเมินความพร้อมเปิดเรียนผ่าน TSC+ และรายงานการติดตามประเมินผลผ่าน MOECOVID ขั้นดำเนินการ   1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดกรองก่อนเข้าโรงเรียนและเข้าห้องเรียน   2. นักเรียนทุกคนรับชุดตรวจ ATK นักเรียนดำเนินการตรวจคัดกรองและส่งผลตรวจ ATK ให้แก่ครูเวรประจำวัน ก่อนเข้ามาในบริเวณโรงเรียน โดยนักเรียนที่มีผลตรวจเป็นลบสามารถเข้ามาเรียนได้ตามปกติ   3. ทำการตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิของนักเรียนและบุคลากรทุกวันก่อนเข้ามาภายในโรงเรียน   4. นักเรียนล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนเข้าห้องเรียนและล้างมือบ่อยๆ   5. ทำกิจกรรมร่วมกันในรูปแบบ Small Bubble โดยงดการจัดกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายในห้องเรียนของแต่ละชั้นเรียน   6. จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ   7. โรงเรียนจัดให้มีการเรียนการสอนตามปกติ โดยให้นักเรียนนำอุปกรณ์การรับประทานอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่มมาเอง และจัดให้มีการรับประทานอาหารในห้องเรียนของตนเองโดยเว้นระยะห่าง   8. จัดห้องเรียนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จัดโต๊ะเรียนให้มีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้และบริเวณภายในห้องเรียนด้วยแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนในทุกวัน มีการจัดการขยะหลังเลิกเรียน   9. จัดให้มี School Isolation แผนเผชิญเหตุ และมีการซักซ้อมหากพบผู้ติดเชื้ออย่างเคร่งครัด   10. กำชับให้ผู้ปกครองดูแลการเดินทางไป - กลับระหว่างบ้านกับโรงเรียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนและบุคลากรได้รับการเฝ้าระวังคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATKติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดได้รับความรู้ด้านการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 00:00 น.