กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน หมู่ที่ 7 บ้านโกตา ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L8010-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกลุ่มชาวโกตาใส่ใจสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 24,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางร่มมาหวัน มินเด็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีการออกกำลังกาย
20.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรัง คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่โรคเรื้อรังเหล่านี้เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งพัฒนาการของโรคจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว ก็มักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย โรคที่ถูกจัดว่าเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงถือว่าเป็นภัยเงียบผลกระทบของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้ทุพพลภาพและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคนี้เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ที่สำคัญ เช่น จอประสาทตาเสื่อม โรคไตเรื้อรังโรคหัวใจและหลอดเลือด บาดแผลเรื้อรัง การตัดแขนขา เป็นต้นโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่ารักษาพยาบาล

จากข้อมูล PT เบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่ 7 บ้านโกตา มีประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในชุมชน 821 ราย พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานเรื้อรัง 22 ราย เพศชาย 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.73% เพศหญิง 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.27% มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 48 ราย เพศชาย 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.25% เพศหญิง 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.75% ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ แต่ปัจจุบันพบว่าประชาชนมีปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัจจัยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากวิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง การบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้แนวโน้มของการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุข การที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยเฉพาะภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่สำคัญและเป็นอันตราย ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยลดลง เกิดความสูญเสียทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม

จากการสำรวจข้อมูลทำแผนที่เดินดินและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน นักศึกษาฝึกประสบการณ์จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มเกิดโรคควบคู่ไปกับการป้องกันโรค โรคแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตัวเอง รวมทั้งรับทราบและแก้ไขปัญหาร่วมกันในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยได้ตระหนักในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  1. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง(คน)
  2. ร้อยละ 60 ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. ร้อยละ 60 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
60.00
2 เพื่อลดพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้อง

ลดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม(คน)

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,600.00 5 24,600.00
1 - 30 มี.ค. 65 อบรมให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน การดูแลตนเอง ความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส. 0 15,015.00 15,015.00
1 - 30 มี.ค. 65 ติดตามผล 0 640.00 640.00
1 - 30 มี.ค. 65 รายงานผลโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
1 - 29 เม.ย. 65 ประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 7,000.00 7,000.00
1 เม.ย. 65 - 30 มี.ค. 65 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 945.00 945.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

  2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565 09:36 น.