กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
รหัสโครงการ 65-L8409-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 159,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้ก่อผลกระทบต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์ปัจจุบันโรงเรียนไม่สามารถเปิดให้นักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี ซึ่งทางโรงเรียนได้ปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดรุนแรง เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ไม่ให้ขาดความต่อเนื่อง แต่การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยุ่งยากเพราะนักเรียนยังขาดความรับผิดชอบต่องานที่คุณครูมอบหมายให้ทำ การเรียนแบบออนไลน์ได้สร้างปัญหาให้กับนักเรียนและผู้ปกครองมากพอสมควรโดยเฉพาะความไม่พร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง การเรียนออนไลน์ของนักเรียนส่งผลกระทบให้นักเรียนอยู่กับจอโทรศัพท์และโน้ตบุ๊คตลอดทั้งวัน ซึ่งเป็นผลต่อสุขภาพสายตาและสมองของนักเรียนตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ท้วงติงมาโดยตลอด แต่ผู้ปกครองกับโรงเรียนก็ไม่มีทางเลือกจึงจำเป็นต้องใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในการนี้เพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ที่เกิดขึ้นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมา ทางโรงเรียนจึงมีความต้องการที่จะเปิดเรียนในรูปแบบออนไซต์ ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากร ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพต่อไปนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free settimg มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน on-site ด้วยชุด เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ นักเรียน ครูและบุคลากร เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ข้อที่ 2 เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (Covid-19) ข้อ 3 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ   ร้อยละ 90  นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องการป้องกันตนเอง ร้อยละ 90  มีการตรวจและคัดกรองโรคให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน   ร้อยละ 100 มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรคแก่กลุ่มเสี่ยง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นเตรียมการ
  1.1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเด็กนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
  1.2 เสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
  1.3 ประชุมครูเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
  1.4 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นดำเนินการ
  2.1 วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ   2.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ   2.3 ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2.4 จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (Covid-19)   2.5 ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 (Covid-19) ภายในโรงเรียน
  2.6 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)   2.7 ล้างทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค บริเวณโรงเรียน หอพัก โรงอาหาร ศูนย์กีฬา เป็นต้น   2.8 สรุปผลการดำเนินงาน 3. ขั้นติดตามและประเมินผล
  3.1 ติดตามประเมินผล มีการสุ่มตรวจโควิดด้วย ATK นักเรียน ครู และบุคลากร 2 ครั้ง ต่อเดือน   3.2 มีการสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด
4. ขั้นสรุปและรายงานผล
  4.1 สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ นักเรียน ครูและบุคลากร เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ๒. เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (Covid-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565 11:01 น.