กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดขยะอินทรีย์ ลดโรค ชุมชนบ้านคลองเตย 2
รหัสโครงการ 65-L7257-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กรรมการชุมชนบ้านคลองเตย 2
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 51,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรัส คณานุรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 51,475.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 51,475.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์
10.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่สามารถจัดทำถังขยะอินทรีย์
20.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่สามารถนำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นภายในชุมชนส่วนใหญ่เกิดจาก อาคาร บ้านเรือน และ แหล่งชุมชนขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวันส่วนใหญ่เป็นประเภทขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียก เช่นเศษอาหาร เศษเนื้อสัตว์ อาหารทะเล เศษผักและเปลือกผลไม้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการมูลฝอยด้วยตัวเอง และยังไม่ให้ความสำคัญในการคัดแยกประเภทของขยะมูลฝอย ในการจัดการขยะในครัวเรือนปัจจุบันเศษขยะอินทรีย์ถูกทิ้งรวมกับขยะทั่วไป ส่งผลกระทบตามมา คือปัญหากลิ่นเหม็นของขยะ แมลงวัน และสัตว์นำโรคชนิดต่างๆ ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามมา

จากการที่ชุมชนบ้านคลองเตย 2 ได้มีการประชุมหารือร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการชุมชน และประชาชนส่วนหนึ่งในชุมชน ร่วมกับเทศบาล ซึ่งได้ร่วมกันหารือแนวทางในการกำจัดขยะอินทรีย์ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคซึ่งมีแมลงต่างๆ เป็นพาหะ เช่นแมลงวัน แมลงหวี่ หนู ฯลฯ จึงมีความคิดเห็นร่วมกัน ในการจัดโครงการลดขยะอินทรีย์ ลดโรค โดยนอกจากเป็น การลดโรคแล้ว ได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการเพาะปลูก ให้ประชาชนปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ในครัวเรือน โดยใช้วัสดุเหลือใช้เป็นภาชนะในการปลูกพืช

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ เรื่อง การจัดการขยะอินทรีย์แก่ครัวเรือนมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ร้อยละของผู้เข้าอบรับการอบรมสามารถจัดการขยะอินทรีย์ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

10.00 90.00
2 เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำถังขยะอินทรีย์ แก่ครัวเรือนเป้าหมาย

ร้อยละของผู้เข้าอบรมสามารถจัดทำถังขยะอินทรีย์ได้

15.00 80.00
3 เพื่อนำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนหรือรั้วบ้าน สร้างการบริโภคที่ปลอดสารพิษและสุขภาพที่ดี สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค

ร้อยละของครัวเรือนมีการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักมาใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างการบริโภคที่ดีปลอดสารพิษและมีสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น

20.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการกำจัดขยะ และการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 37,125.00 1 37,125.00
20 เม.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการกำจัดขยะ และการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน 20 37,125.00 37,125.00
2 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ การเตรียมดินการเพาะต้นกล้า การปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 14,350.00 1 14,350.00
15 มิ.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ การเตรียมดินการเพาะต้นกล้า การปลูกผักปลอดสารพิษ 20 14,350.00 14,350.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครัวเรือนสามารถผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน
  2. สามารถนำขยะอินทรีย์เปลี่ยนเป็นปุ๋ยพืชผักและดินสำหรับปลูกพืช
  3. สามารถลดภาระของเทศบาลในการจัดเก็บขยะและค่าใช้จ่ายในการจัดขยะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2565 19:56 น.