กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องท้องไม่พร้อม
รหัสโครงการ 60-L8402-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 18 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,746.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมคนรักสุขภาพ
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชมน มีบุญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยในปัจจุบันนี้ เรื่องปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น ค่านิยมในการคบเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ปกติของวัยรุ่น การใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ สามารถทำอะไรได้ตามใจตัวเองมากขึ้น และเรื่องเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมากทำให้การติดต่อสื่อสารกันระหว่างเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ง่ายมาก จากสถิติล่าสุดพบว่า ในแต่ละปีกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15 ปี จนถึงก่อน 20 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์และมีการคลอดบุตรอยู่ที่ 44 ต่อ 1,000 คน ของสตรีวัยรุ่นในช่วงอายุเดียวกัน หากเปรียบเทียบกับข้อมูลอัตราการตั้งครรภ์ทั้งหมดปีละ 7 แสนคน จะพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่อายุต่ำว่า 20 ปี มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 15.3 หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 1 แสนคนต่อปี ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ นอกจากนั้นในจำนวนนี้ยังมีถึงประมาณ 3,000 คน ที่เป็นการตั้งครรภ์และคลอดบุตรโดยมารดาที่อายุยังไม่ถึง 15 ปี ทำให้ส่งผลกระทบทั้งในระดับตัวบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เช่น ปัญหาขาดโอกาสในการเรียนต่อ ต้องลาออกจากทางโรงเรียน โดยเฉพาะปัญหาตรงนี้จะกระทบกับฝ่ายหญิงเป็นส่วนมาก ในขณะที่ฝ่ายชายอาจจะยังเรียนต่อได้ตามปกติ เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นส่วนมากมักจะไม่ค่อยรู้จักการป้องกันเมื่อต้องการมีเพศสัมพันธ์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคจากอีกฝ่ายจึงเป็นเรื่องง่าย เช่น กามโรค โรคเอดส์ ในส่วนของโรคเอดส์เป็นโรคที่ร้ายแรงมากเพราะยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ ไม่มีวัคซีนป้องกัน และถ้าหากฝ่ายหญิงตั้งท้องยังส่งผลให้เด็กในครรภ์เป็นโรคไปด้วย จากข้อมูลของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) (วันที่ 25 สิงหาคม 2557)กับงานวิจัยล่าสุด ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาระลอกใหม่จากกรณีที่มีเยาวชนติดเชื้อเอชไอวีและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มสูงขึ้น โดยร้อยละ 70 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 15-24 ปี โดยเฉพาะในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เยาวชนที่ขายบริการทางเพศ และเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ผลกระทบในครอบครัวสร้างความทุกข์ใจให้กับพ่อแม่ เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เกิดความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่เมื่อประสบปัญหาลูกท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เรื่องการเลี้ยงดูเด็กและเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นเกี่ยวกับตัวเด็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เกิดปัญหาหย่าร้างสูงขึ้นในสถาบันครอบครัวของสังคมไทย อันเนื่องจากเด็กที่ท้องไม่พร้อม ส่วนมากยังอยู่ในช่วงวัยเรียนหนังสือยังขาดความรับผิดชอบ และการตั้งครรภ์ในบางกรณีไม่ได้เพราะความรัก เป็นเพียงการอยากลอง หรือเกิดจากการถูกข่มขืน จึงทำให้ยังไม่พร้อมในการมีครอบครัวและไม่พร้อมสำหรับการที่จะเลี้ยงดูเด็ก ผลกระทบในระดับประเทศคือการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศในอนาคต คือการที่ประชากรรุ่นใหม่ไม่สามารถดูแลพึ่งพาตัวเองได้ ต้องเป็นภาระให้กับรัฐในการดูแล เยียวยา ตลอดจนการใช้งบประมาณไปกับการแก้ปัญหามากกว่าที่จะใช้ไปในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ และจากการผลักดัน พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้ง 3 กระทรวงทีคอยให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คือกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงกระทรวงยุติธรรม โดยได้มุ่งให้วัยรุ่นไทยตระหนักรู้ในสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง ตามมาตรา 5 อันเป็นหัวใจหลักของ กฎหมายฉบับนี้คือ คือ วัยรุ่นมีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ด้านการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ โรงเรียนต้องมีหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษา โดยบุคลากรที่ได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี สิทธิในการได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว และสิทธิในการได้รับการจัด สวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ เช่นเมื่อวัยรุ่นเกิดการตั้งครรภ์ต้องมีโอกาสได้รับการศึกษาต่อตามความประสงค์ หรือการฝึกอาชีพตามความสนใจและความถนัดเพื่อเอื้อประโยชน์ในการหางานได้ตามความต้องการ ซึ่งหากวัยรุ่นได้รับสิทธิและความรู้ความเข้าใจใน กฎหมายฉบับนี้อย่างชัดเจนจะส่งผลให้สถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลงได้ ภายในระยะเวลา 10 ปี หมู่ที่10 ตำบลทุ่งมะขามอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา ซึ่งมีประชากรเยาวชนผู้หญิงอายุ ระหว่าง 12 -18 ปีจำนวน 92 คน กรณีท้องไม่พร้อมช่วงปี 2558-2560ช่วงอายุ 12-18 ปี มีจำนวน 12 ราย จนเป็นที่น่าวิตกว่า อาจก่อให้เกิดปัญหาการท้องไม่พร้อมเพิ่มขึ้น หากยังไม่ได้รับการแก้ไข
กลุ่มสตรีบ้านทุ่งมะขาม หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งมะขามอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลาจึงได้จัดให้มีโครงการการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องท้องไม่พร้อมเพื่อต้องการกระตุ้นด้วยคำถามให้เยาวชนได้รู้คิด ตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมา หากยังไม่มีความพร้อมในการที่จะเป็นพ่อแม่ก่อนวัยอันควร ไม่สะดุดหรือมีอุปสรรคใดๆมาทำให้อนาคตของหยุดชะงักเพราะต้องมารับผิดชอบเลี้ยงดู โดยที่ตัวเองยังไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ยังไม่มีความรู้ ความสามารถในการที่จะรับผิดชอบเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง และกลายเป็นปัญหาและภาระของครอบครัว และให้ตระหนักถึงหน้าที่ในการเรียนหนังสือเพื่ออนาคตที่ดีของตัวเอง โดยมุ่งเสริมสร้างมุมมองต่อชีวิตในเชิงบวก มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาคติของสังคมที่มีต่อปัญหา ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ เนื้อตัวของฉันร่างกายของฉันบทบาทหญิงชาย การรู้เท่าทันการล่อลวง การเรียนรู้ทักษะชีวิตประจำวัน การรู้จักปฏิเสธเมื่อชักชวน การดูแลคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี นอกจาก การได้รับคำแนะนำหรือคำปรึกษาที่ดีและใกล้ชิดจะโนเซ็กส์ หรือ เซฟเซ็กส์ ก็เป็นสิทธิ์ที่วัยรุ่นไทยเลือกได้ เพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างมุมมองต่อชีวิตในเชิงบวก มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาคติของสังคมที่มีต่อปัญหา ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ เนื้อตัวของฉันร่างกาย บทบาทหญิงชาย การรู้เท่าทันการล่อลวง การเรียนรู้ทักษะชีวิตประจำวัน เช่นการรู้จักปฏิเสธเมื่อชักชวน

เยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัญหาท้องไม่พร้อมและป้องกันตัวเองจากปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาทางเพศได้

2 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนให้มีความเข้าใจ สามารถให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาที่ดี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและมีทางออกที่ถูกต้อง ไม่เสียสิทธิโอกาสทางการศึกษาและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ

เยาวชน มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาท้องในวัยเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำได้ในเบื้องต้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,746.00 2 26,746.00
1 พ.ย. 60 ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมงาน 0 650.00 650.00
19 พ.ย. 60 อบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 0 26,096.00 26,096.00
  1. จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดรูปแบบ และผู้รับผิดชอบโครงการ
  2. การจัดกิจกรรม เน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเช้าจะเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตรวมกลุ่ม ช่วงบ่าย เป็นกิจกรรมรับความรู้จากวิทยากรเรียนรู้ ทำความเข้าใจ บทบาทหญิง-ชาย การวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อเข้าใจปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาเยาวชนในมิติอื่นๆโดยทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
  3. ประเมินผลการดำเนินการ/รวบรวมสรุป รายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัญหาท้องไม่พร้อมและป้องกันตัวเองจากปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาทางเพศได้ 2. เยาวชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาท้องในวัยเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำได้ในเบื้องต้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2560 16:42 น.