กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L5205-4-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 60,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรศักดิ์ แสงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 42 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ได้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดตั้งระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ขึ้น โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง (รหัสกองทุน L๕๒๐5) ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ๑๒ สงขลาให้ดำเนินการได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ตามหนังสือแจ้งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา ที่ สปสช.๓๓/ว ๐๒๕๐ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อส่งเสริมกลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่อยู่ในตำบลคลองหรังสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพและเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรประชาชนในตำบลคลองหรังจัดทำกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในตำบลคลองหรัง โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบของกองทุนฯ
    ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนฯ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการ ระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการ ระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการ ระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ประจำปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
  1. มีการประชุมกรรมการเพื่อพิจารณาและติดตามงานอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี
  2. มีการประชุมอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 3.มีการประชุมอนุกรรมการติดตามประเมินผล อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 4.มีการประชุมอนุกรรมการ LTC อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 5.โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อย 90%
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์สนับสนุนการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
  1. วัสดุสำนักงานฯสำหรับการบริหารจัดการกองทุนฯได้จัดซื้อตามแผนงานที่วางไว้
  2. ครุภัณฑ์สำหรับบริหารกองทุนฯถูกจัดซื้อตามแผนงานที่วางไว้
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และบุคลากรสำหรับดำเนินงานและช่วยงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ
  1. คณะกรรมการกองทุน  คณะอนุกรรมการ  คณะทำงาน  และแกนนำสุขภาพ  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อเตรียมแผนงานสุขภาพตำบล สำหรับปีงบประมาณ 2566
  1. มีแผนสุขภาพตำบลที่มีความครอบคลุมด้านการแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ สำหรับปีงบประมาณ 2566
0.00
5 ข้อที่ 5 เพื่อความสะดวกในการรายงานระบบออนไลน์และจัดทำรายงานของกองทุน
  1. มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานที่จำเป็นและเพียงพอต่อการทำงาน เกิดกระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
0.00
6 ข้อที่ 6 เพื่อใช้จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ
  1. มีตู้เอกสารจัดเก็บเอกสารเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 การจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และพี่เลี้ยงประจำกองทุน(1 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 21,600.00                
2 การจัดประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ(1 ก.พ. 2565-31 ส.ค. 2565) 3,600.00                
3 การจัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ(1 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 2,250.00                
4 การจัดประชุมอนุกรรมการ LTC(1 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 4,600.00                
5 การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์เพื่อการดำเนินงานกองทุน(1 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 19,800.00                
6 เบ็ดเตล็ด(1 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 600.00                
7 การจัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2566(1 ก.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 7,550.00                
รวม 60,000.00
1 การจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และพี่เลี้ยงประจำกองทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 82 21,600.00 1 0.00
1 - 28 ก.พ. 65 ประชุมคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษา ครั้งที่ 1 20 4,500.00 0.00
1 - 30 เม.ย. 65 ประชุมคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษา ครั้งที่ 2 พี่เลี้ยงกองทุน ครั้งที่ 1 21 6,300.00 -
1 - 30 มิ.ย. 65 ประชุมคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษา ครั้งที่ 3 20 4,500.00 -
1 - 31 ส.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษา ครั้งที่ 4 พี่เลี้ยงกองทุน ครั้งที่ 2 21 6,300.00 -
2 การจัดประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 16 3,600.00 1 0.00
1 - 28 ก.พ. 65 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 1 8 1,800.00 0.00
1 - 30 เม.ย. 65 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 2 8 1,800.00 -
3 การจัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 2,250.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 65 ประชุมอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 1 5 1,125.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 2 5 1,125.00 -
4 การจัดประชุมอนุกรรมการ LTC กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 4,600.00 0 0.00
1 - 28 ก.พ. 65 ประชุมอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 1 10 2,300.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 2 10 2,300.00 -
5 การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์เพื่อการดำเนินงานกองทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 19,800.00 0 0.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์เพื่อการดำเนินงานกองทุน 0 19,800.00 -
6 เบ็ดเตล็ด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 600.00 0 0.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 เบ็ดเตล็ด 0 600.00 -
7 การจัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2566 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 7,550.00 0 0.00
1 - 30 ก.ย. 65 การจัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2566 35 7,550.00 -

1.ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน - กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2.ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงาน ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3.ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี - จัดประชุมอนุกรรมการ LTC อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี - ประชุมจัดทำแผนสุขภาพและแลกเปลี่ยนความรู้ผลงานที่ผ่านมา - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  2. โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อย 90%
  3. วัสดุสำนักงานฯและครุภัณฑ์สำหรับการบริหารจัดการกองทุนฯถูกซื้อตามแผนงานที่วางไว้
  4. การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2565 13:58 น.