กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่โดยใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L7258-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานทันตกรรมสาธารณสุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 235,266.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันติ ตุงคะเวทย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1387 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานทันตสาธารณสุข ฝ่ายบริการสาธารณสุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้จัดให้มีการบริการทันตกรรม และส่งเสริมป้องกันให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ แก่เด็กนักเรียน และประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งได้มีการตั้งคลินิกทันตกรรมเพื่อให้บริการและส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพ ๒ แห่งคือ ศูนย์บริการสาธารณสุขเพชรเกษม และศูนย์บริการสาธารณสุขสามชัย สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ มีหน้าที่ให้บริการงาน    ทันตกรรมทั่วไป ได้แก่ ขูดหินปูน อุดฟัน และถอนฟัน งานส่งเสริมป้องกัน ได้แก่ การเคลือบฟลูออไรด์ และเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ รวมทั้งให้บริการงานทันตกรรมเฉพาะทาง ได้แก่ การรักษาคลองรากฟัน การผ่าตัดฟันคุด/ฟันฝัง ทันตกรรมจัดฟันเบื้องต้นและงานฟันเทียมทั้งแบบถอดได้และติดแน่น โดยให้บริการผู้ป่วย  จำนวน 7,173 ราย (เฉลี่ยวันละ ๒9 ราย) ในปีงบประมาณ ๒๕๖3 จากการที่ศูนย์บริการทั้ง 2 แห่ง ได้ลงพื้นที่ในการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ประจำปี ๒๕๖2 ในโรงเรียนเทศบาล ๑-๖ จำนวน ๓,678 ราย พบว่าเด็กประถมศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ (๕-๖ ปี) มีค่าปราศจากโรคฟันผุเพียงร้อยละ ๒๐.๗ ซึ่งค่าปราศจากโรคฟันผุในเขตเทศบาล    นครหาดใหญ่ กำหนดอยู่ที่ ๓๐.๓ จะเห็นได้ว่าค่าปราศจากโรคฟันผุในเด็กประถมมีค่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น  แสดงให้เห็นว่าเด็กนักเรียนมีฟันผุเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนวัยเรียนและวัยอนุบาล ลุกลามมาจนถึงวัยประถมทั้งนี้การไม่ได้รับการการส่งเสริมป้องกันฟันผุอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งส่งผลให้โรคฟันผุเกิดการลุกลามทั้งขนาดเล็กที่ยังสามารถบูรณะได้ไปจนถึงฟันผุลุกลามขนาดใหญ่ ที่ต้องได้รับการถอนฟันออกทั้งในน้ำนมและฟันกรามแท้ซี่แรก
ดังนั้นงานทันตสาธารณสุข ฝ่ายบริการสาธารณสุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่  จึงได้ตระหนักว่าปัญหาฟันผุในเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและวัยอนุบาล เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการป้องกัน  และแก้ไขก่อน โดยการใช้สารเคลือบฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงชนิดทาเพื่อเสริมความแข็งแรงของเคลือบฟัน ร่วมกับ การใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกเพื่อทำลายเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ นมอัดเม็ดโพรไบโอติกเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ในการป้องกันโรคฟันผุซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล และผศ.ดร.ทพญ.สุพัชรินทร์ พิวัฒน์      คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เอกสารแนบมาด้วยแล้ว) ซึ่งมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ  ที่รองรับได้ถึงผลในการป้องกันโรคฟันผุ เช่น การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแรกเกิด จะเห็นได้ว่าฟันน้ำนมซี่แรกที่ขึ้น คือ ฟันน้ำนมล่าง จะขึ้นตอนประมาณอายุ ๖ เดือน และซี่สุดท้ายที่ขึ้นก็คือ ฟันกรามน้ำนมบนซี่ที่ ๒ ซึ่งจะขึ้นตอนอายุประมาณ ๓ ขวบ ซึ่งการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กตั้งแต่ ๐-๓ ขวบ    จะเริ่มตั้งแต่การเช็ดสันเหงือกในกรณีก่อน ๖ เดือน หรือตอนที่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้นพอหลังจากนั้นที่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น สามารถแปรงฟันได้ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (๕๐๐ ppm) แต่ยังไม่สามารถที่จะให้นมอัดเม็ดป้องกันโรคฟันผุได้ เพราะเด็กยังมีฟันไม่ครบไม่สามารถที่จะเคี้ยวนมอัดเม็ดได้ อีกทั้งในเด็กบางคนอาจจะมีการแพ้นมวัว ซึ่งเป็นส่วนผสมของนมอัดเม็ดนี้อยู่ (ซึ่งอาการแพ้นมวัวดังกล่าวส่วนใหญ่มักจะหายได้เองหลังจาก ๓ ขวบไปแล้ว) อีกทั้งกลไกของ  นมอัดเม็ดป้องกันโรคฟันผุจะเป็นตัวที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ นั่นคือ Streptococci mutans ซึ่งไม่เหมือนกับฟลูออไรด์ (Fluoride) ที่ป้องกันโรคฟันผุ โดยทำให้ตัวฟันมีความแข็งแรงมากขึ้นโดยเปลี่ยนอนุภาคของ Hydroxyapatide เป็น Fluoroapatide ซึ่งจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวฟัน อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสะสมแร่ธาตุใหม่ที่ตัวฟัน (Reminerization) ทดแทนการสูญเสียแร่ธาตุ (Demineralization) เวลาที่ฟันได้รับกรดจากเชื้อ Streptococci mutans ที่บริโภคน้ำตาลแล้วปล่อยกรดมาทำลายผิวฟัน
จะเห็นได้ว่ากลไกของป้องกันโรคฟันผุทั้งจากฟลูออไรด์และนมอัดเม็ดจะแตกต่างกัน แต่ทั้ง ๒ ชนิด ก็จะช่วยลดการเกิดโรคฟันผุ แต่นมอัดเม็ดจะให้ในกรณีที่เด็กสามารถเคี้ยวอาหารได้ ก็คือสามารถเคี้ยวนมอัดเม็ดได้ (ผู้ปกครอง  ก็สามารถรู้ได้และบอกได้ว่าบุตรหลานมีอาการแพ้นมวัวหรือไม่) และถ้ากลไกในการป้องกันโรคฟันผุทั้งหมด ได้แก่  นมอัดเม็ด ฟลูออไรด์ การแปรงที่ถูกวิธี การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพฟัน ได้รวมกันเข้าไว้ด้วยกันก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคฟันผุเป็นไปอย่างดีที่สุด ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและสภาวะจิตใจที่เบิกบาน ไม่ปวดฟันและจะมีฟันใช้งานได้ตราบนานเท่านาน
๑. วารสาร Dentistry Journal ๒๐๑๕ ๓,๔๓-๕๔ ผลการศึกษาของเชื้อโพรไบโอติกชนิด Lactobacillus paracasei SD1 สามารถลดการเกิดโรคฟันผุใหม่ (mutans streptococci) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P‹๐.๐๕)  ในระยะยาว ๑๒ เดือน ซึ่งทำในเด็ก ๑๒๒ คน
๒. วารสาร ACTA ODONTOLOGICA SCANDINAVICA ๒๐๑๘ VOL.๗๖ NO.๕, ๓๓๑-๓๓๗ ซึ่งเป็นงานวิจัย ที่ทำในเด็กก่อนวัยเรียนและพบว่าเชื้อโพรไบโอติกชนิด Lactobacillius paracasei SD1 สามารถลดเชื้อที่ทำให้เกิด โรคฟันผุ (mutans streptococci) หลังจากได้รับนมอัดเม็ดไปแล้ว ๓ เดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก เพื่อประเมินสภาวะการปราศจากโรคฟันผุทั้งก่อนและหลังการได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก ข้อที่ 2 เด็กปฐมวัยได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก ตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา ๓ เดือน

ร้อยละ ๘๕ ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาล ๒-๖ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ทั้งก่อนและหลังการได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก ร้อยละ ๘๕ ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาล ๒-๖ ได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก ตามปริมาณและขนาด  ที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา ๓ เดือน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2774 235,266.00 2 235,266.00
15 ก.พ. 65 - 15 ส.ค. 65 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 1,387 2,250.00 2,250.00
15 ก.พ. 65 - 15 ก.ย. 65 กิจกรรมให้บริการทันตกรรม 1,387 233,016.00 233,016.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาล ๒-๖ มีสุขภาพช่องปากดีขึ้น ๒. ครูประจำชั้น ครูอนามัย มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถถ่ายทอดไปสู่นักเรียนได้ยิ่งขึ้น ๓. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจและอยากให้มีโครงการนี้ขึ้นอีก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2565 11:46 น.