กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบัณฑิตอาสาฯตำบลคอลอตันหยง ชวน เดิน -วิ่ง เพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L3062-02-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ตำบลคอลอตันหยง
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีเย๊าะ มะสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
50.00
2 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีสุขภาพที่ดี เป็นความปรารถนาของคนทุกคน เพราะการมีสุขภาพที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความสุข และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในที่สุด เพราะคำว่า สุขภาพ มีความหมาย คือ สภาวะแห่งความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี ไม่ใช่เพียงแต่ความปราศจากโรค หรือทุพพลภาพเท่านั้น(องค์การอนามัยโลก , 2491) จากคำจากัดความนี้ แสดงให้เห็นว่า ภาวะของความไม่มีโรคหรือไม่บกพร่องยังไม่ถือว่ามีสุขภาพ แต่สุขภาพมีความหมายเชิงบวกที่เน้นความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม นั่นคือ ต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพทางสังคมครบทุกด้าน ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพประกอบด้วยแนวทางหลายแนวทางด้วยกัน และที่ได้รับการยอมรับในแนวทางปฏิบัติตามหลักวิชาการคือ การมีสุขภาพที่ดี ตามหลัก 6 อ.สร้างสุขภาพคนไทย ซึ่งประกอบด้วย อ.ที่๑ อาหาร อ.ที่๒ ออกกำลังกาย อ.ที่๓ อารมณ์ อ.ที่๔ อนามัยสิ่งแวดล้อม อ.ที่๕ อโรคยา และ อ.ที่๖ อบายมุข ซึ่งจะต้องปฏิบัติควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งการออกกำลังกายก็จะมีหลากหลายรูปแบบและวิธีการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความถนัด ความสนใจ และความพร้อมตลอดจนประโยชน์ที่ได้รับของแต่ละบุคคลอีกด้วย และจากสภาวการณ์ปัจจุบันพบว่าประชาชนในสังคมส่วนใหญ่จะประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อันเนื่องมาจากปัญหาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การว่างงาน ยาเสพติด โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ภัยธรรมชาติ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัว เช่น นิยมบริโภคอาหารจานด่วน ของขบเคี้ยว หรือชอบอยู่ในสังคมของโลกออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดความเครียดและเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ขึ้นมากมาย หรือในวัยผู้สูงอายุก็จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การออกกำลังกาย จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมลดภาวะอ้วนลงพุงและช่วยไม่ให้เกิดโรคต่างๆในอนาคตเพิ่มขึ้นได้และสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งกลุ่มบัณฑิตอาสาฯ ตำบลคอลอตันหยง ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวนี้ จึงได้จัดทำโครงการบัณฑิตอาสาฯ ตำบลคอลอตันหยง ชวนเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนโดยการออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพ เป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการออกกำลังกายที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

50.00 30.00
2 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

50.00 70.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 4 20,000.00
31 มี.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน 0 750.00 750.00
6 เม.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 บรรยายให้ความรู้การออกกำลังกายที่เหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมาย 0 13,900.00 13,900.00
29 เม.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมส่งเสริมการเดิน – วิ่งเพื่อสุขภาพในพื้นที่ ระยะทางจำนวน 3 กม. 0 4,000.00 4,000.00
31 ส.ค. 65 กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล 3 เดือน/ครั้ง 0 1,350.00 1,350.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. บัณฑิตอาสาฯได้ออกกำลังกาย และเป็นตัวอย่างให้กับประชาชนทั่วไปในการรักษาสุขภาพด้วยการเดิน-วิ่ง
  2. ทำให้ประชาชนหันมาออกกาลังกายมากขึ้น และลดการป่วยขึ้น
  3. ประชาชนเข้าถึงการวิ่งอย่างถูกวิธี ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกาลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2565 11:58 น.