กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัยในโรงเรียนวัดพรุเตาะ
รหัสโครงการ 65-L8405-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดพรุเตาะ
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กันยายน 2565
งบประมาณ 24,625.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพีรฉัตร แสงฉาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.040926,100.543408place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนานักเรียนตามแนวทางของโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัยในโรงเรียน ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมดำเนินการกับฝ่ายการศึกษามาตั้งแต่ปี 2541 ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพอใจ โดยมีโรงเรียนที่สามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 ประการ ที่เน้นกระบวนผ่านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ที่ผ่านมายังมิได้ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพมากนัก
ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนวัดพรุเตาะ สามารถพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในด้านสุขภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาต่อไป โรงเรียนวัดพรุเตาะ จึงเล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีศักยภาพในตนเอง และสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานอย่างได้ผล ผ่านกิจกรรมที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน "อย.น้อย" เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนให้มีการรับรู้ถึงสิทธิของผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และเกิดการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน มีการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ผ่านรูปแบบการดำเนินกิจกรรมเป็นภาคึเครือข่ายในระดับสถานศึกษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคและตระหนักถึงเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคและตระหนักถึงเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

50.00 90.00
2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในเรื่องการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

ร้อยละของจำนวนครั้งที่สมาชิกชมรม อย.น้อย ให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนผ่านช่องทางเสียงตามสายหรือการประชาสัมพันธ์หน้าเสาธง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

50.00 70.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

ร้อยละของสถิติการขาดเรียนของนักเรียนเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพลดลง

50.00 10.00
4 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนอย่างง่ายได้

สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถสุ่มตรวจวิเคราะห์สารเจือปนในอาหารภายในโรงเรียนได้ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

50.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคและตระหนักถึงเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในเรื่องการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนอย่างง่ายได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

15 ก.พ. 65 - 30 ส.ค. 65 กิจกรรม อย.น้อย 24,625.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและแกนนำ อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยมากขึ้น
  2. นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
  3. สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสิ่งปนเปื้อนด้วยชุดตรวจอย่างง่ายได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2565 15:00 น.