กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ วัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอปี 65
รหัสโครงการ 65-L3065-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมตาดีกา หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะอารี มะตีเยาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.860751,101.195645place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
61.95

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียนคือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี ซึ่งกำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญหากได้ปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จะทำให้เด็กหรือเยาวชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง โรคหรืออุบัติเหตุต่างๆในเด็กวัยเรียนอาจพบได้บ่อยเกิดขึ้นเสมอ และจากสถานการณ์ด้านสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภาวะทางทุพโชนาการ ยาเสพติด สุขภาพจิต ภัยมืดต่างๆที่คุกคามสุขภาพ ทางชมรมมองเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพให้แก่เด็กวัยเรียนต้องมีการการจัดกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆเพื่อให้เด็กๆได้เข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ให้เข้ากับวัยที่กำลังเรียนรู้ และเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต กิจกรรมที่เข้ากับกลุ่มวัยนี้คือการที่ให้เด็กๆได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย มีการขยับกายและสอดแทรกในเรื่องขององค์ความรู้และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ดี
      ทุกภาคส่วนในพื้นที่ต้องร่วมกันเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพ ชมรมตาดีกาบ้านบางปลาหมอ ก็เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในพื้นที่มีหน้าที่ในการฝึกอบรมเยาวชนอายุ 6 – 12 ปี ให้มีจริยธรรม ความรู้ และพัฒนาการของเยาวชน นอกเหนือจากเวลาเรียนปกติของเยาวชน เป็นเวลายาวนาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และยังเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ จึงได้จัดทำโครงการวัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอ ปี 65 เพื่อเพิ่มทักษะด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัว เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีนำสู่พัฒนาการที่ดีตามวัยและการใช้เวลาว่าง การแบ่งเวลาที่สมเหตุสมผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันได้อย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 6 - 12 ปี ในพื้นที่ได้มีความรู้ ทัศนคติที่ดีและมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้รับการอบรมและฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสุขภาพ

90.00 81.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 6 – 12 ปี ในหมู่บ้านได้มีกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที

90.00 81.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 4 15,000.00
1 มี.ค. 65 - 30 เม.ย. 65 พัฒนาทักษะ องค์ความรู้ 0 9,800.00 9,800.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย 0 2,600.00 2,600.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 เรียนรู้จิตอาสา พัฒนาบ้านเกิด 0 2,600.00 2,600.00
25 - 30 ก.ย. 65 สรุปประเมินผลโครงการ 0 0.00 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ๑. ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน
๒. ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาสร้างสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ๓. ส่งเสริมกิจกรรมการขยับกายในเวลาว่าง
๔.สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กและเยาวชนในศูนย์ตาดีกาบ้านบางปลาหมอ มีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ๒. เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใต ๓. เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ กิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม ๔. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2565 14:18 น.