กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L7889-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 67,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางผุสดี หมัดอาดำ
พี่เลี้ยงโครงการ ดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วน ในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการ มีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้วยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริม ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ ให้ลุล่วง สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน รวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการโดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2557 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นหรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลปริก เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการบริหารจัดการกองทุนเป็นกลไกสำคัญในการที่จะเชื่อมโยงเข้าถึง การประสาน การทำงานให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเข้าใจวัตถุประสงค์การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน บทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการ การใช้โปรแกรมในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในการทำงานด้านบัญชี การดำเนินโครงการ กิจกรรม และการจัดการข้อมูลพื้นฐาน ส่งผลให้ดำเนินการการบริหารจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ประชุม แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการกองทุนฯฝ่ายต่างๆ และคณะทำงาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน พิจารณาอนุมัติงบประมาณโครงการต่างๆ การติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อให้การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

0.00
2 เพื่อบริหารจัดการกองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง โปร่งใส่ เป็นธรรมตามวัตถุประสงค์ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่

 

0.00
3 ร้อยละ 80 คณะกรรมการบริหารกองทุนเข้าใจวัตถุประสงค์การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เข้าใจแนวทางการปฏิบัติงาน บทบาทและหน้าที่ของตนเองที่ชัดเจน การร่วมเป็นคณะกรรมการ ตามประกาศฉบับใหม่ พ.ศ. 2557

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 2,200.00
26 ต.ค. 61 ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมกรรมการติดตาม ประเมินผลโครงการครั้งที่ 2/61 0 0.00 2,200.00

1 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ

  • คณะกรรมการบริหารฯ เดือนธันวาคม กุมภาพันธ์ พฤษภาคมและกรกฎาคม
  • อนุกรรมการฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์ฯ เดือนพฤศจิกายน และเมษายน
  • อนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองโครงการฯ เดือนพฤศจิกายน และกุมภาพันธ์
  • อนุกรรมการฝ่ายติดตามประเมินผลโครงการ เดือนมิถุนายน และกรกฎาคม
  • อนุกรรมการฝ่ายการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เดือนพฤศจิกายน มกราคม และมิถุนายน
  • อนุกรรมการทำงานกองทุนฯ เดือนธันวาคม และมิถุนายน
  • อนุกรรมการสำนักเลขาฯ เดือนพฤศจิกายน ธันวาคม กุมภาพันธ์ เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน

2 บันทึกรายงานการเงินผ่านโปรแกรม tobt

  • ประจำเดือน และส่ง สปสช.ทุกเดือนไม่เกิน วันที่ ๕ ของเดือนถัดไป
  • ประจำไตรมาส และส่งรายงาน สปสช. ทุกไตรมาส ไม่เกินวันที่๕ ของเดือนถัดไป
  • ติดตามการบันทึกรายงานผ่านโปรแกรม (ทั้งปี)

3 กำหนดกรอบแผนงานโครงการ ปีงบประมาณถัดไป

4 จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารและอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ปี 2561

5 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ จัดซื้อ/จ้าง ที่ใช้ในการบริหารจัดการ

6 จัดทำแบบประเมินคณะกรรมการและประเมินความพึงพอใจของประชาชน 200 ชุด/ปีและสรุปผล

7 จัดทำแบบประเมินตนเองผ่านระบบอัตโนมัติ

8 จัดกิจกรรมนำเสนอและสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ต่อคณะกรรมการบริหารฯและเสนอต่อ สปสช. และสรุปผลการดำเนินงานและรายงายผลต่อคณะกรรมการบริหารและเสนอต่อ สปสช. และส่งรายงานปี ทุกสิ้นเดือนธันวาคม ต่อ สปสช.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 คณะกรรมการบริหารฯและอนุกรรมการฝ่ายต่างๆเกิดการพัฒนาศักยภาพตนเอง แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2 คณะกรรมการบริหารฯและคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ คณะทำงาน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการอนุมัติ การกลั่นกรองโครงการ แนวทางการดำเนินงาน ติดตามโครงการกิจรรม เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

3 คณะกรรมการบริหารฯอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าใจวัตถุประสงค์ แนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน บทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการ ตามประกาศฉบับใหม่ พ.ศ. 2557 และการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4 กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก เกิดการบริหารจัดการอย่าง มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล มากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2560 15:20 น.