กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง
รหัสโครงการ 65-50117-01-005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 97,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลิศรัตน์ เอกสถาพรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพประชากรผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ในพื้นที่ตำบลนาโยงเหนือ หมู่ที่ ๓-หมู่ที่ ๗ มีผู้สูงอายุและผู้ป่วยพิการที่ต้องดูแลระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพึงที่ต้องได้รับการดูแลและเยี่ยมบ้าน จำนวน ๕๘ คน แบ่งเป็นกลุ่มที่๑ ได้แค่ผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่สามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง มีปัญหาการกิน/การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน จำนวน ๒๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๖๕ กลุ่มที่ ๒ ได้แค่ผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๒๔ กลุ่มที่ ๓ ได้แค่ผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่เคลื่อนไหวเอง ไม่ได้ ไม่มีปัญหาการกินการ ขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรง จำนวน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๕๘ กลุ่มที่ ๔ ได้แค่ผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ๑๕.๕๑ ประชากรผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ส่วนใหญ่มีความสารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพ ให้คำแนะนำและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพให้กับครอบครัวและผู้ช่วยเหลือผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง จากการปฏิบัติงานของภาคีเครือข่ายในด้านการดูแลและติดตามเยี่ยมบ้านประชากรผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง กลุ่มดังกล่าว รวมทั้งสำรวจความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับปัญหา ตามชุดสิทธิ์ประโยชน์ของผู้ป่วยที่ต้องดูแลระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง ประชากรผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง พบปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนาน เช่น แผลกดทับจำนวน ๗ ราย ซึ่งเกิดจากการขาดอุปกรณ์ที่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับ เช่น ที่นอนลม เตียงปรับระดับ อีกทั้งยังขาดแคลนรถเข็นนั่ง จากปัญหาดังกล่าวผู้ดูแลจึงเห็นถึงความสำคัญเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีในประชากรกลุ่มนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียงได้รับการฟื้นฟูสภาพ ให้คำแนะนำและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพ 2.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชากรผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง 3.เพื่อให้ประชากรผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับปัญหา ตามชุดสิทธิ์ประโยชน์พร้อมใช้และเพียงพอ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ให้กับผู้สูงอายุและผู้ดูแลฟื้นฟูและดูแล ได้รับการฟื้นฟูสภาพจากภาครัฐโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  2. ผู้สูงอายุพิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานลดลง
  3. ผู้สูงอายุพิการ ผู้สูง อายุติดบ้าน/ติดเตียงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับปัญหา ตามชุดสิทธิ์ประโยชน์พร้อมใช้และเพียงพอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565 10:43 น.