กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนและโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 65-L3346-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน /นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 19,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวภาค กั๋งเซ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 19,550.00
รวมงบประมาณ 19,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ5-14ปีซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุง ต้องตัดวงจรของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรค และเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากโรงเรียนชุมชนและองค์กรต่างๆ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน มีจำนวนผู้ป่วย 5 ปีย้อนหลัง ดังนี้ ปี พ.ศ.2560 มีผู้ป่วย 18 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 329.54 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2561 มีผู้ป่วย 41 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 750.64 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2562 มีผู้ป่วย 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 384.47 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ.2563 มีผู้ป่วยทั้งหมด 13 รายคิดเป็นอัตราป่วย 238.09 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2564มีผู้ป่วย จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย33.00 ต่อแสนประชากรซึ่งจะเห็นว่าส่วนใหญ่แต่ละปีจะมีจำนวนผู้ป่วยเกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง(ค่ามัธยฐาน329.54 ต่อแสนประชากร) ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชันร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว และอาสาสมัครสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการชุมชนและโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ๒๕65 ขึ้น โดยเน้นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในกลุ่มนักเรียนทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนและโรงเรียนได้ร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกและเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย

ไม่เกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่พบอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
  • จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลดลง
  • ประชาชนมีความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
  • เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเหลือไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,550.00 0 0.00
1 ต.ค. 64 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก 0 11,400.00 -
1 ต.ค. 64 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมประกวดเขียนเรียงความไข้เลือดออก 0 2,300.00 -
1 ต.ค. 64 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมประกวดโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 1,350.00 -
1 ต.ค. 64 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมควบคุมโรค - พ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกรณีเกิดโรค 0 4,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนและองค์กรต่าง ๆในชุมชน โรงเรียนทุกแห่ง มีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  3. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  4. นักเรียนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดทั้งที่บ้านและโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565 14:30 น.