กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มแม่และเด็ก ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8020-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรัตภูมิ
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 9,208.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ทพญ.มนรัตน์ หงษ์สวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 9,208.00
รวมงบประมาณ 9,208.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในจังหวัดสงขลาและอำเภอรัตภูมิ พ.ศ.2562 พบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 49.9 และ 40.6 ตามลำดับ ซึ่งการดูแลเพื่อให้เด็กมีสุขภาพฟันดี ควรเริ่มตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมจะเริ่มสร้างตั้งแต่อายุครรภ์มารดาได้ 6 สัปดาห์ และการสร้างฟันต้องการสารอาหารหลายชนิด เช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ธาตุจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งส่งผลต่อความแข็งแรงต่อชั้นเคลือบฟันและเนื้อฟัน ซึ่งการดูแลเอาใจใส่อนามัยช่องปากที่ดีขณะตั้งครรภ์สามารถลดการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากได้ ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19 ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางทันตสุขภาพในกลุ่มหญิงมีครรภ์และเด็กเล็กดำเนินการไม่สะดวกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเป้าหมายนี้เพิ่มขึ้นได้     ในทางทันตกรรม การให้บริการทันตกรรมงานแม่และเด็ก มีกลวิธีโดยเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการระหว่างงานส่งเสริมคุณภาพในหญิงตั้งครรภ์แลละคลินิกเด็กดี โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ การให้ทันตสุขศึกษาสอนแปรงฟันที่ถูกวิธี รวมไปถึงการให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย ได้แก่ ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน ถอดฟันที่ติดเชื้อ เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุจากแม่สู่ลูกโดยผ่านทางน้ำลาย ส่วนการดำเนินงานในคลินิกเด็กดีนั้น พบว่าพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุที่ดูแลบุตรหลานที่บ้าน เป็นส่วนสำคัญหลักในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กรวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคของเด็กด้วย การสร้างความตระหนัก การให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการบริโภคตลอดจนวิธีการทำความสะอาดช่องปากเด็กโดยพ่อ แม่ ผู้ปกครองได้ฝึกลงมือปฏิบัติจริง จะทำให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากบุตรหลานตนเองได้     กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ เล็งเห็นความสำคัญของการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็กเล็ก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มแม่และเด็กขึ้น โดยให้การดูแลแบบองค์รวมและมีการบูรณาการผ่านการเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายสุขภาพที่มีส่วนสำคัญในการดูแลเด็ก นำไปสู่งการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฝึกทักษะการแปรงฟัน

24.00
2 เพื่อให้เด็กกลุ่มอายุ 0-3 ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

ร้อยละ 70 ของเด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 70 ของผู้ปกครอง เด็ก 0-3 ปี ได้รับการฝึกทำความสะอาดช่องปาก
ร้อยละ 50 ของเด็ก 0-3 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

120.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 144 9,208.00 0 0.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมแม่ลูกฟันดี 144 9,208.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่เข้าโครงการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝึกแปรงฟันและขูดหินน้ำลายทำความสะอาดฟัน
  3. เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์เฉพาะที่
  4. ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ มีความรู้ด้านโภชนาการ และมีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2565 11:18 น.