กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 65-L8020-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 57,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฐาณิชญาณ์ เกตุแสง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 57,400.00
รวมงบประมาณ 57,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งต่างภาครัฐและเอกชน แต่กลับพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โดยข้อมูลจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -1 ก.ย. 64 พบผู้ป่วย 6,485 ราย เสียชีวิต 6 ราย กลุ่มอายุพบมากที่สุดคือ อายุ 5-14 ปี รองลงมา อายุ 15-24 ปี โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณที่พักอาศัย โดยพบว่าผู้ป่วยมีการกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยภูมิภาคที่พบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ภาคเหนือ รองลงมาคือภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ แม่ฮ่องสอน รองลงมาคือน่าน ตาก อุทัยธานี และเชียงราย ตามลำดับ (ข้อมูลจากกลุ่มงานโรคติดต่อนำโดยยุงลาย กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) จากรายงานการส่งต่อข้อมูลจากงานระบาดวิทยาสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ ในปีงบประมาณ 2564 ภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร พบผู้ป่วยที่มีโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ( โรคไข้เลือดออก, โรคชิคุนกุนยา, โรคไข้ซิกา ) จำนวน 0 คน และถึงแม้ว่าโรคไข้เลือดออกและโรคต่างๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ จะเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้  แต่ก็ยังพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ และยังพบผู้ป่วยเสียชีวิตอีกด้วย
ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลกำแพงเพชร โดยศูนย์บริการสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนขึ้น เพื่อรณรงค์ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลให้ได้ผลเป็นที่ประจักษ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชรทั้ง 6 ชุมชน

ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลาย  ทั้ง 6 ชุมชน และไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
2 โรงเรียนภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร 3 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง

สถานศึกษาภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ประชาชนภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชรทั้ง 6 ชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : โรงเรียนภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร 3 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 31 พ.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ อสม. 90.00 2,250.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 0.00 31,700.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จ้างพ่นหมอกควัน ในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร 0.00 23,450.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.มีความรู้สามารถถ่ายทอดให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบทราบถึงอันตรายจากโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งรู้จักวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนทุกครัวเรือน วัด โรงเรียน และภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ปรับสภาพแวดล้อมในอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ทำงานและชุมชน
  3. ไม่เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาล
  4. ไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2565 11:52 น.