กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุของตำบลฉลุง
รหัสโครงการ 65-L5273-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 45,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นิยมเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2565 31 ส.ค. 2565 45,350.00
รวมงบประมาณ 45,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 และมีแนวโน้มสถานการณ์ผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนและสัดส่วน โดยพบว่าประชากรของประเทศไทยมีอายุมากที่สุดในอาเซียน คือ มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 7.4 หรือ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 12 มีการคาดการณ์ว่า อีก 10 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด ซึ่งหมายถึงมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20 ปีขึ้นไป หรือ อาจกล่าวได้ว่าในอีก 1 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะกลายเป็น "สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์" จากข้อมูลในระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพตำบลฉลุง เดือนตุลาคม 2563 มีผู้สูงอายุจำนวน 883 คน เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 10.58 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงร้อยละ 0.27 ดังนั้น ทาง รพ.สต.ฉลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุของตำบลฉลุง ได้จัดทำโครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุของตำบลฉลุง ปี 2565 เพื่อให่้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมเข้าร่วมกิจกรรมโครงการได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

0.00
2 ข้อ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ไม่ก่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 ก.พ. 2565-31 ส.ค. 2565) 9,700.00              
2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(1 ก.พ. 2565-31 ส.ค. 2565) 35,650.00              
รวม 45,350.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 9,700.00 1 9,700.00
1 ก.พ. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 40 9,700.00 9,700.00
2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 450 35,650.00 1 35,650.00
4 มี.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 450 35,650.00 35,650.00

วิธีการดำเนินการ 1.จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อสม./แกนนำ 2.สำรวจ จัดทำและปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน 3.จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม และประสานงานวิทยากร 4.กิจกรรมอบรม อสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 5.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับเครือข่าย อสม. ประเมินคัดกรองผู้สูงอายุ 6.จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแก่้ผู้สูงอายุติดสังคม ในวันอังคารและวันศุกร์ จำนวน 12 ครั้้ง ดังนี้ -ให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิต และประเมินภาวะซึมเศร้า -ให้ความรู้หลัก 3 อ. 2 ส. -ให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน และตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและฟัน -ให้ความรู้หลักการออกกำลังกาย และส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เช่น แบบมณีเวช การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า การออกกำลังกายแบบไม้พลอง เป็นต้น -ให้ความรู้เรื่องโภชนาการกับผู้สูงอายุ และุประเมินสุขภาพเบื้องต้น 7.ทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อสม. และแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการ อบรม.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เพื่อติดตามผลตามดูแลช่วยเหลือตามความจำเป็นของแต่ละคน 8.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 2.ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2565 16:29 น.