กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้1 พฤษภาคม 2565
1
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลจากการเจาะเลือด แล้วพบว่าอยู่ในระดับมีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย เรื่องการป้องกันตนเองจากการใช้ยาปราบศัตรูพืช และประชาชนกลุ่มเสี่ยง เรื่องการบริโภคให้ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงที่มีผลจากการเจาะเลือด แล้วพบว่าอยุ่ในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย เรื่องการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การบริโภคให้ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตามเป้าหมายโครงการจำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 100

ปฏิบัติการคัดกรอง1 พฤษภาคม 2565
1
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ดำเนินการเจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 300 คน นัดหมายให้มารับบริการตรวจชั่วโมงละ 50 คน เพื่อลดความแออัด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการเจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามเป้าหมายโครงการจำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 100  ได้ผลการตรวจคัดกรอง  ดังนี้ -ผลปกติ  จำนวน 45 คน ร้อยละ 15 -ผลปลอดภัย  จำนวน 69 คน ร้อยละ 23 -ผลเสี่ยง  จำนวน 84 คน  ร้อยละ 28 -ผลไม่ปลอดภัย  จำนวน 102 คน ร้อยละ 34 บันทึกสุขภาพเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการเจาะเลือด ให้สุขศึกษาแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทานสมุนไพรรางจืด เพื่อล้างสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เป็นเวลา 7 วัน พร้อมติดตามผลโดยการเจาะเลือดซ้ำ คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีผลเสี่ยงและผลไม่ปลอดภัย  คือ 1. ผู้ที่ใช้สารเคมี ควรเลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้สารธรรมชาติทดแทน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็ควรใช้ให้น้อยที่สุด ใช้อย่างถูกวิธีและใช้อุปกรณ์ป้องกันาี่ถูกต้องเหมาะสม 2.การล้างผักผลไม้ด้วยน้ำไหลผ่าน แช่ผักและผลไม้ในน้ำส้มสายชู 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด 3.การล้างพิษด้วยสมุนไพรรางจืด ใช้ใบสด 5-7 ใบ ต้มกับน้ำสะอาดดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 4-5 ครั้ง สัปดาห์ละ 2-3 วัน ติดต่อกัน 1 เดือน โดยเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการคัดกรองเสี่ยงและผลไม่ปลอดภัย ได้รับการแนะนำรักษาด้วยสมุนไพรรางจืด จำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ 100 4.ติดตามผลหลังให้สุขศึกษาแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทานสมุนไพรรางจืดเพื่อล้างสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เป็นเวลา 7 วัน  โดยการเจาะเลือดซ้ำในกลุ่มที่มีผลเสี่ยงและไม่ปลอดภัย มีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองซ้ำ  จำนวน  154  คน คิดเป็นร้อยละ 82.80 ได้ผลการตรวจ -ผลปกติ  จำนวน 52 คน ร้อยละ 33.76 -ผลปลอดภัย  จำนวน 66 คน ร้อยละ 42.85 -ผลเสี่ยง  จำนวน 34 คน  ร้อยละ 22.10 -ผลไม่ปลอดภัย  จำนวน 2 คน  ร้อยละ 1.29 ซึ่งหลังจากให้สุขศึกษาแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  และทานสมุนไพรรางจืดเพื่อล้างสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเป็นเวลา 7 วัน พบว่าผลปกติ และปลอดภัยเพิ่มขึ้น ส่วนผลเสี่ยงและผลไม่ปลอดภัยลดลง

ประเมินความเสี่ยง1 พฤษภาคม 2565
1
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สัมภาษณ์เพื่อประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง ประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และความเสี่ยงทางจิต จำนวน 300 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามแบบประเมิฯ นบก.1-56 ดังนี้ -ความเสี่ยงค่อนข้างสูง จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 55 -ความเสี่ยงสูง จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 38 -ความเสี่ยงสูงมาก จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 7 ผลการประเมินความเสี่ยงทางจิต ตามแบบคัดกรองโรคซืมเศร้า ดังนี้ -ผลปกติ จำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 100