กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพฟันดีประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L4148-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2565 - 30 ตุลาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 16,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอฮานี เจ๊ะเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนันทิดา ไชยลาภ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (16,910.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป ก็มีปัจจัยร่วมหลายๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน   ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพและสุขภาพช่องปากแก่เด็กปฐมวัยพร้อมกับการสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กๆนั้น เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ตระหนักเห็นว่า เรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรม อาจจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากโดยเฉพาะเด็กก็จะมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย     ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบลบาโร๊ะ จึงได้คิดวิธีการที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็กให้หันมาสนใจการแปรงฟันและให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก วิธีการดูแลสุขภาพฟันและวิธีการจัดอาหารที่มีประโยชน์เด็กให้แก่ผู้ปกครอง โดยจัดกิจกรรมที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพฟันที่ดี

เด็กปฐมวัยมีสุขภาพฟันที่ดี

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพฟันและวิธีการแปรงที่ถูกวิธีในเด็กปฐมวัย

ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพฟันและวิธีการแปรงที่ถูกวิธีในเด็กปฐมวัย

0.00
3 3. เพื่อให้เด็กปฐมวัยนำความรู้ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

เด็กปฐมวัยนำความรู้ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00
4 4. เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 45 16,910.00 0 0.00
30 ส.ค. 65 อบรมเชิงให้ความรู้ ปฏิบัติการ เรื่อง สุขภาพอนามัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 45 16,910.00 -
  1. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย
  2. ดำเนินการ อบรม ให้ความรู้กับครูเด็กและผู้ปกครองในการดูแลสุขาพฟันของเด็กปฐมวัย
  3. สาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้ครู เด็ก และผู้ปกครอง
  4. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยมีสุขภาพฟันที่ดี
  2. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพฟันและวิธีการแปรงที่ถูกวิธีในเด็กปฐมวัย
  3. เด็กปฐมวัยนำความรู้ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้
  4. เด็กปฐมวัยได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2565 10:23 น.