กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5273-5-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 145,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรัญญา เฉลิมบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 145,000.00
รวมงบประมาณ 145,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสถานการณ์ปัจจุบัน มีการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย หมอกควันจากเผาป่า หรือมลพิษต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพของประชาชน หรือโรคติดต่อที่เกิดจากภัยพิบัติ จากน้ำท่วม หรือลมพายุพัด เช่น โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง โรคอหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษ เชื้อรา หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ อาทิ โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้สมองอักเสบ กาฬโรค มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ เป็นต้น หรือแม้แต่โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สาเหตุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้เสียสมดุลและเกิดเป็นโรคได้ ดังนัน เพื่อการเตียมความพร้อมรับสถานการณ์ และป้องกันการเกิดของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำหรือโรคติดเชื้อต่าง ๆซึ่งอาจจะเป็นโรคประจำถิ่นไว้ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการเฝ้าระวังโรค ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดตามสถานการณ์แนวโน้ม และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และเมื่่อมีระบบเฝ้าระวังที่ดีก็จะส่งผลให้มีการโต้ตอบป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ. 2552 มาตรา 67 ที่ อบต.มีอำนาจหน้าที่จัดทำสามารถจำแนกได้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และอำนาจหน้าที่ของ อปท. ตามมาตรา 17 มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2552 ดังนั้นเพื่อเตรียมการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติและป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้รวดเร็ว และให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนได้ทันท่วงทีทั้งด้านเวชภัณฑ์ยาและมิใช่ยา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อเป็นการเฝ้าระวังควบคุมโรค การระบาดของโรคติดต่อในชุมชน และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

ประชาชนในพื้นที่  ได้รับการดูแลสุขภาพเพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วยได้ครอบคลุมและทั่วถึง ร้อยละ 100 ของผู้ได้รับผลกระทบ

0.00
2 ข้อ 2. สามารถจัดหาเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยา เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ครอบคลุมและทั่วถึงรร้อยละ 100 ของผู้ได้รับผลกระทบ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ และฟื้นฟู(1 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 145,000.00                
รวม 145,000.00
1 กิจกรรเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ และฟื้นฟู กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 145,000.00 0 0.00
11 มี.ค. 65 การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือ 0 145,000.00 -

วิธีดำเนินการ 1.ประชุมชี้แจง ผุ้มีหน้าที่เกี่ยว้องทราบภารกิจ 2.แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการออกป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการช่วยเหลือฟื้นฟู 4.ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคหรือผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติ 5.ประสานแผนการดำเนินงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6.ติดตามเฝ้าระวังจุดเกิดโรคเพื่อควบคุมป้องกันกำกับและติดตามค้นหาผู้ป่วย 7.ติดตามประเมินผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ที่ประสบปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆในพื้นที่ได้ 2.สามารถจัดหาเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยา เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2565 15:00 น.