กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพมารดาและลูก ปี65
รหัสโครงการ L4137-65-22-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 14,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดา หะยีอุมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 14,100.00
รวมงบประมาณ 14,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาอุบัติการณ์โรคฟันผุเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ของประเทศ พบโรคฟันผุสูงในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป การส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพมารดาสู่ลูก เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ การเจ็บป่วยด้วยโรคในช่องปากไม่ว่าจะเป็นโรคฟันผุและโรคปริทันต์ ถือได้ว่าเป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนไทยทุกกลุ่มอายุ แม้ว่าโรคจะไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ หากเกิดในหญิงตั้งครรภ์จะส่งผลให้เกิดความรุนแรง ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่า การมีโรคฟันผุในช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ มีผลต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อย มารดาที่มีฟันผุขณะตั้งครรภ์จะมีเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลาย และหากเกิดในเด็กเล็ก ก็จะเป็นปัญหาในการดูแลรักษา เพราะว่าเด็กยังเล็ก ไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองให้สะอาดได้ด้วยตนเอง ต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากจากมารดา ซึ่งมีการวิจัยว่าโรคฟันผุมีผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ควรแก้ไขตั้งแต่แรกเริ่ม การเกิดโรคฟันผุมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยร่วมกันไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านอาหาร ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและปัจจัยด้านการได้รับบริการทันตกรรม ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยการพึ่งพิงผู้อื่นโดยเฉพาะจากบิดา มารดาเป็นสำคัญ พฤติกรรมการเลี้ยงดูจะถูกส่งผ่านทัศนคติ ความรู้และทักษะต่างๆจากบิดา มารดาสู่เด็กเล็ก และปลูกฝังจนเป็นนิสัยของเด็กเล็กต่อไป     จากข้อมูลสำรวจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา ตำบลพร่อน อำเภอเมือง ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดในตำบลพร่อน ปี 2564 จำนวน 68 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 68 คน  คิดเป็นร้อยละ 100 พบปัญหาสุขภาพช่องปาก 59 คน คิดเป็นร้อยละ 86.76 และข้อมูลทันตสุขภาพเด็ก  ๓ ปี ปราศจากฟันผุ ข้อมูล ๓ ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 – 2๕64 พบว่า ปี พ.ศ. 2562 จำนวนเด็ก ทั้งหมด 74 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 59 คน มีฟันผุจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 47.45ปี พ.ศ. 2563 จำนวนเด็กทั้งหมด 91 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 63 คน มีฟันผุจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 44.44 ปี พ.ศ. 2563 จำนวนเด็กทั้งหมด 91 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 63 คน มีฟันผุจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 44.44 และปี พ.ศ. 2564 จำนวนเด็กทั้งหมด 82 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน 51 คน มีฟันผุจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 41.17 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตาสา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาฟันผุเหล่านี้ เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน สร้างทัศนคติ และทักษะให้แม่สามารถดูแลช่องปากของตนเองได้ดี เพื่อส่งผลต่อทักษะการดูแลลูกต่อไปในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพมารดาและลูก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปาก
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
0.00
2 เพื่อให้บุตรของกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพฟันดี
  • ร้อยละ 5 ของบุตรกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพฟันดี
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 มี.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเมาะจิอาสาและกลุ่มผู้นำชุมชน 25 5,300.00 5,300.00
15 มี.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี 50 8,800.00 8,800.00
รวม 75 14,100.00 2 14,100.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองและบุตรได้ถูกต้อง
  2. กลุ่มเมาะจิอาสา สามารถเผยแพร่ความรู้สุขภาพช่องปากสู่ชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2565 09:31 น.