กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ช่วยเหลือดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ (เอชไอวี) โรงพยาบาลนาหม่อม ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5208-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาหม่อม
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชนี จันทร์รอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.991,100.561place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 11 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ มีพัฒนาการมาเป็นลำดับโดยเฉพาะด้านการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น การให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสการให้ยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก การให้ยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้นมีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โรงพยาบาลนาหม่อมเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลนาหม่อมซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้จัดรูปแบบบริการเป็นคลินิก one stop service เน้นการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ผู้ให้คำปรึกษาและนักเทคนิคการแพทย์รวมทั้งกลุ่ม/เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์จังหวัดสงขลาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการสนับสนุนให้ผู้ป่วยเอดส์ได้เข้าถึงโครงการยาต้านไวรัสเอดส์ มีการตรวจรักษาในคลินิกยาต้านไวรัสเอดส์ มีการจัดกิจกรรมกลุ่มทั้งด้านวิชาการและสันทนาการเดือนละครั้งโดยมีทีมสหวิชาชีพข้างต้นร่วมกับทีมหนุนเสริมจากเครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์จังหวัดสงขลาเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์อย่างสม่ำเสมอผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและช่วยเหลือเพื่อนในการปฎิบัติตัวให้เหมาะสมสามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุขให้นานที่สุด ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม 2560มีผู้ป่วยเอดส์ในเขตพื้นที่อำเภอนาหม่อมซึ่งมี 4 ตำบลเข้าโครงการรับยาต้านไวรัสเอดส์เดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันพุธที่ 3 ของเดือนที่โรงพยาบาลนาหม่อม จำนวน 62 รายซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยในเขตตำบลพิจิตร จำนวน10รายย้ายไปรับยาที่ รพ. หาดใหญ่ 1 ราย เนื่องจากติดสิทธิ์ประกันสังคมแต่ยังรับเบี้ยยังชีพอยู่ที่ตำบลพิจิตรมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เฝ้าระวัง CD4จำนวน1รายและผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นสามีและภรรยาของผู้ป่วยในโครงการมาร่วมกิจกรรมกลุ่มจำนวนประมาณครั้งละ 6 ราย มารดาติดเชื้อเอชไอวีตำบลพิจิตรจำนวน 1 ราย ซึ่งมารับยาและทานยาตรงเวลาสม่ำเสมอ จากการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยหลังรับยาต้านไวรัสเอดส์มีภูมิคุ้มกันโรคสูงขึ้น สุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจดีขึ้นผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการยาต้านไวรัสเอดส์และกิจกรรมกลุ่ม เน้นกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ติดตามเพื่อนที่ไม่มารับยาตามนัด ถ่ายทอดวิชาการให้สมาชิกทราบในวันจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการดูแลที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพต่อเนื่องและได้รับผลประโยชน์สูงสุด มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างมีคุณภาพ โดยนำรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระบบโปรแกรม NAP WEB REPORT และโปรแกรม HosXpมาใช้โดยอ้างอิงตามมาตรฐานและแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและแผนงานเอดส์ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อนำผลการวัดเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงคุณภาพภายใต้บริบทของจังหวัดและประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์คลินิกยาต้านครบวงจร (One Stop Service) ได้มาตรฐานโดยใช้โปรแกรม ระบบโปรแกรม NAP plus และโปรแกรม HosXp
  1. ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ที่รับยาต้านฯ กดไวรัสสำเร็จ> 80%
  2. ผู้ป่วยกินยาตรงเวลา ถูกต้อง สม่ำเสมอ ไม่ขาดยา 100%
  3. ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ที่รับยาต้านฯ เกิดภาวะดื้อยา
2 2.เพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์เรื่องโรคเอดส์ในชุมชน การเข้าถึงบริการ การตรวจเลือดและยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อนำไปสู่ getting to zero

ผู้รับบริการที่วินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีได้รับยาต้านไวรัส >๘๕%

3 3.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้/ทักษะในการป้องกันโรคิดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอดส์

อัตราป่วยด้วยโรคหนองในในกลุ่มอายุ 15-24 ปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการทำงาน
  2. วางแผนจัดกิจกรรมและรูปแบบที่เหมาะสม
  3. ดำเนินกิจกรรมตามแผน
  4. รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ แก้ปัญหา วางแผนเพื่อปรับปรุงแก้ไข พัฒนาครั้งต่ไป
  5. ประเมินผลสรุป ส่งรายงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการดูแลรักษาแบบครบวงจร (one stop service) และมารับยาตามนัดต่อเนื่อ รับประทานยาสม่ำเสมอและไม่มีภาวะเกิดเชื้อดื้อยา
  2. ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ได้รับการยอมรับจากสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. เด็กนักเรียน ป. 4 ป.5 ป.6 ตำบลพิจิตรมีความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/โรคเอดส์และอนามัยเจริญพันธุ์และสามารถไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป
  4. ประชาชนในชุมชน สามารถรับทราบข้อมูล ข่าวสาร และมีความรู้เรื่องโรคเอดส์มากขึ้น
  5. ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการดูแลตามคุณภาพมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์และการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ตามระบบโปรแกรม NAP WEB REPORT และโปรแกรม HosXp
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2560 13:26 น.