กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเรียนรู้ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กวัยรุ่น รพ.สต.บ้านวังตง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตง
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 9,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรัชดา อุมายี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบเชิงลบทางสุขภาพต่อตัวแม่วัยรุ่นและทารกเนื่องจากวัยรุ่นตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า เช่น การเสียชีวิตของมารดาการเสียชีวิตของทารก ทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์รวมถึงปัญหาภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงาน รวมทั้งรายได้ในอนาคต จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2556 พบว่าร้อยละ 32 ชองวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต้องออกจากการศึกษา ซึ่งการตั้งครรภ์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องหยุดเรียน นอกจากนั้น ข้อมูลการสำรวจสภาวะสังคมและเศรษฐกิจยังชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงที่มีบุตรตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น มีโอกาสที่จะได้เรียนต่อในระดับปริญญาตรีน้อยกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 12 เท่า และมีโอกาสได้งานในสายวิชาชีพน้อยกว่าผู้หญิงทั่วไป 6 เท่าส่งผลให้ผู้หญิงที่มีบุตรตั้งแต่เป็นวัยรุ่นสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ตลอดชีวิตไปกว่าร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับผู้หญิงทั่วไป จากสถานการณ์ในพื้นในปี 2564 อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบว่าร้อยละ 14.29 ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 17.86 จึงส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมาดาและทารก จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการแก้ปัญหาความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตรของแม่วัยรุ่นซึ่งยังทำให้เด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กในอนาคตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สามารถงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ รวมถึงได้รับการดูแลช่วยเหลือ และคุ้มครองอย่างเป็นระบบเมื่อประสบปัญหา

-วัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจการเกี่ยวกับเพศศึกษา และการเรียนรู้ทักษะชีวิต การใช้ชีวติที่ปลอดภัยจากโรคหรือภัยต่อสุขภาพของตนเอง

0.00
2 2.ครอบครัวคิดเชิงบวก และมีบทบาทในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลาน เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

-ผู้ปกครองมีทัศนะคติที่ดีในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลาน

0.00
3 3.วัยรุ่นรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาทางเลือก สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ รวมถึงได้รับบริการที่เป็นมิตร และถูกต้องตามหลักวิชาการในการฝากครรภ์ การตลอด การดูแลสุขภาพหลังคลอด หรือการยุติการตั้งครรภ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

-วัยรุ่นที่ประสบปัญหารวมถึงหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับบริการที่เป็นมิตรเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ได้อย่างเหมาะสม -อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20ปีลดลง

0.00
4 4.พ่อแม่วัยรุ่นได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือเกี่ยวกับการดูแลบุตรการจัดบริการทดแทนกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ การได้รับสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสม

-วัยรุ่น/พ่อแม่สามารถรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือสวัสดิการทางสังคมได้อย่างเหมาะสม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,350.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1.อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการใช้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 0 9,350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและสอดคล้องกับช่วงวัย
  2. พ่อแม่/ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถสื่อสารเรื่องเพศเพื่อเพิ่มสัมพันธ์ภาพกับบุตรหลานได้
  3. วัยรุ่นเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตร
  4. วัยรุ่นได้รับการช่วยเหลือ และคุ้มครองอย่างเป็นระบบเมื่อประสบปัญหา 5.รพ.สต.มีบทบาทในการดำเนินป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 12:57 น.