กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์คัดกรอง ค้นหากลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 2
รหัสโครงการ 65-L1475-02-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 17,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรีดา หนูแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ หนูแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 700 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไขนอกจากโรคติดต่อแล้ว  กลุ่มโรค ไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการ  ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงและก่อให้เกิด ความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี  ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดสมอง อัมพาตโรคหัวใจขาดเลือด  โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหา และการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักสุขภาพถ้วนหน้า ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้น  โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ ได้แก่วัยทำงาน และวัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่นพฤติกรรมการบริโภคพฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  รวมถึงภาวะเครียด  จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน  พบว่าประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแล รักษาโรคมากกว่าร้อยละ ๕๐ โดยนโยบายระดับชาติ  เพื่อควบคุมโรคเหล่านี้คือการตรวจค้นหาคัดกรองสุขภาพของประชาชน  และการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญ  ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพ  เพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค  จากผลการดำเนินงานโครงการในปี ๒๕64 พบว่า ประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 2 ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของตนเองจำนวน631 ราย พบประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (ส่งต่อพบแพทย์) จำนวน 17 ราย พบประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน (ส่งต่อพบแพทย์) จำนวน 11 ราย  ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 8 ราย ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 2 ราย กลุ่มอาสาสมัครหมู่ที่ 2 ตำบลนาข้าวเสีย ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ รณรงค์คัดกรอง ค้นหากลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 2 ขึ้น เพื่อคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงและส่งต่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.จัดประชุม อสม. นำเสนอปัญหาสถานการณ์โรคเรื้อรัง
2.จัดทำโครงการเสนอของบประมาณกองทุนองค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย
3.ประสานงาน รพ.สต. ผู้นำชุมชน อบต. เพื่อขอความร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ
4.จัดกิจกรรมประชุมชี้แจงแก่แกนนำประชาชน
6.จัดกิจกรรมรณรงค์คัดกรองประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ทุกคน
7.ติดตามคัดกรองกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง 3 เดือน/ครั้ง
8.สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลให้กองทุน ทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงอย่างน้อยร้อยละ 90
  2. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยและส่งต่อเข้าระบบการรักษาร้อยละ 90
  3. มีภาคีเครือข่ายภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 14:32 น.