กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านขายของชำปลอดภัยใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L1475-01-34
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 28,432.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิรินธร เอียดจุรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาว์ดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน และอาหารปลอดภัยที่ประชาชนบริโภคนั้น ต้องปราศจากเชื้อโรค หรือปนเปื้อนจากเชื้อโรคทางเดินอาหารและสารเคมี ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย จึงต้องมีระบบการกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ คุณภาพ และการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในระบบความปลอดภัยของอาหารที่ผลิต/จำหน่าย ทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) ตั้งแต่วัตถุดิบ (การเพาะปลูก เพาะเลี้ยง) การผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่าย จนถึงผู้บริโภคอาหาร From Farm to Table ซึ่งปัจจัยความสำเร็จของการสร้างอาหารปลอดภัย คือ ทัศนคติ และความตระหนักในการเลือกบริโภค และผลิต/จำหน่าย อาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่า และจากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายโครงการอาหารปลอดภัย เด็กไทยฉลาด ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ปลอดภัยจากแบคทีเรีย สารเคมี และสารพิษปนเปื้อน และบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย สมอง สติปัญญา และอารมณ์ ตามวัย

          เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข “โครงการอาหารปลอดภัย เด็กไทยฉลาด ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องดำเนินการในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ร้านขายของชำที่จำหน่ายอาหารสด แผงลอย ต้องปลอดภัยจากสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิด (บอแรกซ์ ,ฟอร์มาลิน , ซาลิซาริก , โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ ,ยาฆ่าแมลง และน้ำมันทอดซ้ำ ) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากแกนนำอย.หมู่บ้าน และอย.น้อยในโรงเรียนต่างๆ มาร่วมกันตรวจสอบ เฝ้าระวังทั้งอาหารสด และอาหารสำเร็จรูป ทั้งในร้านค้าจำหน่ายอาหารสด แผงลอย ตลอดจนร้านค้าในโรงเรียน ให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และเป็นอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าสำหรับการบริโภค

          ดังนั้น เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างครอบคลุม ตลอดจนส่งเสริมนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข”อาหารปลอดภัย เด็กไทยฉลาด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน จึงได้จัดทำโครงการร้านขายของชำปลอดภัยใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค ขึ้น เพื่อการเฝ้าระวังและตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารใน ร้านขายของชำที่จำหน่ายอาหารสด และแผงลอย และสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่ ทั้งในระดับหมู่บ้าน ชุมชน และโรงเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 จัดทำโครงการ และเสนอเพื่อขออนุมัติ 4.2 ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.3 ประชุมชี้แจงอสม. และประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.4 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำที่จำหน่ายอาหารสดและแกนนำผู้บริโภค 4.5 ฝึกปฏิบัติการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 4.6 เฝ้าระวังในการเก็บอาหารส่งตรวจ ปีละ 2 ครั้ง         4.7 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถเฝ้าระวังและตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารใน ร้านขายของชำที่หน่ายอาหารสด และแผงลอยให้มีมาตรฐานเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่า ตลอดจนสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่ ทั้งในระดับหมู่บ้าน ชุมชน และโรงเรียนต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 15:53 น.