กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กปฐมวัย “กลุ่มอายุ ๐-๕ ปี” ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L1475-01-36
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 18,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิรินธร เอียดจุรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาว์ดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 258 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเกิดโรคฟันผุในฟันเด็กเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ช่องปากถือว่าเป็นประตูแห่งสุขภาพเมื่อฟันผุไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีโรคจะลุกลามจนเกิดการสูญเสียฟัน และส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การเรียนรู้ ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ (ดำเนินการสำรวจทุก ๕ ปี) ครั้งที่ ๘ ปี ๒๕๖๐ พบว่า กลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี ซึ่งเป็นตัวแทนของเด็กก่อนวัยเรียน มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ ๕๒.๙ มีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ ๕๒ และในกลุ่มเด็กอายุ ๕ ปี มีอัตราการเกิดฟันผุที่สูงขึ้น ร้อยละ ๗๕.๖

จากรายงานสถานการณ์การเกิดฟันผุของเด็กอายุ ๓ ปี จากการสำรวจรายปีในระดับจังหวัดตรัง ปี ๒๕๖๓ พบว่า เด็กฟันผุ ร้อยละ ๕๒.๔ และระดับพื้นที่ตำบลนาข้าวเสีย (สำรวจเด็กอายุ 3 ปีทุกคน ที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน) เด็กฟันผุ ร้อยละ ๕๑.๕ ซึ่งใกล้เคียงในระดับจังหวัดและระดับประเทศ นับว่าฟันผุในเด็กยังคงสูง ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีเด็กส่วนหนึ่งที่เกิดโรคฟันผุและค่อนข้างรุนแรง

ฟันผุในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้แก่ การแปรงฟันที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้แปรงฟัน และการบริโภคน้ำตาลที่มากเกิน ซึ่งนอกจากฟันผุแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในระยะยาว ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน ร่วมกับ กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลนาโยง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กปฐมวัย “กลุ่มอายุ ๐-๕ ปี” เพื่อให้มีการเฝ้าระวังการเกิดโรคฟันผุในเด็กควบคู่ไปกับการให้บริการส่งเสริมป้องกันโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทันตบุคลากร พร้อมทั้งเพิ่มการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ลดการสูญเสียฟันก่อนวัยอันควร และลดการสะสมเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก คาดหวังให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีสุขภาพดีอย่างเป็นองค์รวม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.๑ ระยะเตรียมการ - ประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- เก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะช่องปากของเด็กและวิเคราะห์ข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ - เขียนโครงการ/แผนการดำเนินงาน - ขออนุมัติโครงการ

4.๒ ระยะดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมอบรมความรู้ และฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครองเด็ก ๐-๒ ปี - จัดกิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก การควบคุมโรคฟันผุ
- ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็ก (Hand-on)
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมอบรมความรู้และฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครองเด็ก ๓-๕ ปี - จัดกิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก และการควบคุมโรคฟันผุ
- ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็ก (Hand-on)

กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมตรวจประเมิน คัดกรองสุขภาพช่องปากเด็ก และทาฟลูออไรด์วานิชแก่เด็ก๐-๒ ปี - ประสานงาน และวางแผนร่วมกับทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลนาโยง เพื่อให้เด็ก ๐-๒ ปี ในพื้นที่ได้เข้ารับการตรวจคัดกรอง และได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมตรวจประเมิน คัดกรองสุขภาพช่องปากเด็ก ทาฟลูออไรด์วานิช และการรักษาแก่เด็ก ๓-๕ ปี ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก         - ประสานงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกับทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลนาโยง เพื่อให้เด็กได้รับการตรวจประเมิน คัดกรองสุขภาพช่องปากเด็ก ทาฟลูออไรด์วานิชอุดฟันอย่างง่าย (ART) ในโรงเรียน หรือส่งต่อเด็กเข้ารับบริการในโรงพยาบาล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีสุขภาพที่ดีออย่างเป็นองค์รวมต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 16:11 น.