กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวังเด็กน้อยตำบลบาโร๊ะฟันดี
รหัสโครงการ 65-L4148-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 ตุลาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 20,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาซีย๊ะ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนันทิดา ไชยลาภ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 358 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟันน้ำนมเป็นฟันชุดแรกของมนุษย์ โดยฟันหน้าล่างจะขึ้นมาเป็นซี่แรกเมื่อมีอายุประมาณ 6 – 9 เดือน ตามพัฒนาการ ฟันน้ำนมจะขึ้นครบ 20 ซี่ เมื่อมีอายุครบ 2 ปี โดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญและให้การดูแลรักษาฟันน้ำนมเท่าทีควร เพราะคิดว่าฟันแท้สามารถขึ้นมาแทนที่ได้และไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาฟันน้ำนม ความจริงแล้วฟันแท้จะดีได้ขึ้นอยู่กับฟันน้ำนม เพราะฟันน้ำนมไม่ใช่แค่ช่วยให้รอยยิ้มที่สวยงาม แต่ยังช่วยเป็นแนวในการขึ้นของฟันแท้ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก รวมถึงปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคบางโรค โรคฟันผุในฟันน้ำนมยังเป็นปัญหา หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี การส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้     จากข้อมูลการสำรวจโรคผุในจังหวัดยะลา พ.ศ. 2564 ในเด็ก 3 ปี พบฟันผุ ร้อยละ 62.26 และในพื้นที่ตำบล บาโร๊ะ พบฟันผุคิดเป็นร้อยละ 59.57 78 (จากข้อมูลแฟ้ม HDC สสจ.ยะลา ปีงบประมาณ 2564) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสภาวะฟันผุของเด็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน หากปล่อยไว้และหากปล่อยและไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง และต่อเนื่อง อาจเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ ได้เห็นถึงปัญหา และความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังเด็กน้อยตำบลบาโร๊ะฟันดี เพื่อผู้ปกครองเด็กมีความเข้าใจและทัศนคติที่ดี ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีและเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กแรกเกิด ได้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

ร้อยละ 80 ผู้ปกครองและเด็กแรกเกิด ได้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

0.00
2 2. ผู้ปกครอง และเด็กอายุ9 เดือน ได้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง และเด็กอายุ9 เดือน ได้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 498 20,200.00 0 0.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก 498 20,200.00 -

1.ขั้นเตรียม   1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ       2. สำรวจข้อมูลทางทันตสุขภาพในเขตรับผิดชอบ     3. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ     4. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง     5. ดำเนินงานตามโครงการ
2.ขั้นดำเนินการ
1. อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่กลุ่มเป้าหมาย
2. ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากแก่กลุ่มเป้าหมาย 3.ขั้นประเมินผล  ประเมินผลโครงการจากผลการปฏิบัติงาน 1. จากแฟ้มข้อมูล HDC

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและเด็กแรกเกิด ได้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
    1. ผู้ปกครอง และเด็กอายุ9 เดือน ได้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2565 11:16 น.