กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 85,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 678 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เขตเทศบาลนครตรัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีประชากรทั้งสิ้น 60,365 คน มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 2,700 คน คุมได้ 615 คน คิดเป็นร้อยละ 22.78 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 6,845 คน คุมได้ 551 คน คิดเป็นร้อยละ 8.05 ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกชุมชน 27 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง (ให้บริการ One Stop Service) จำนวน 244 คน คุมได้ 120 คน คิดเป็นร้อยละ 49.18 คุมไม่ได้ 124 คน คิดเป็นร้อยละ 50.81 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 451 คน คุมได้ 315 คน คิดเป็น 69.84 คุมไม่ได้ 136 คน คิดเป็นร้อย 30.15     ชุมชนในเขตเทศบาลนครตรัง เป็นชุมชนเขตเมือง ซึ่งมีจุดเด่นคือ ความเข้มแข็งขององค์กรในชุมชน โดยเฉพาะ อสม. และจากที่ได้ลงคัดกรองประชากร อายุ 35 ปี ขึ้นไป พบทั้งกลุ่มปกติ, กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ปัญหาที่พบอีกหนึ่งอย่างก็คือผู้ป่วยขาดยา หรือได้ยาไม่ครบ โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรังที่เป็นผู้สูงอายุ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชนได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2565” พบว่าอัตราการขาดยาไม่มี แต่ยังมีปัญหา ในเรื่องการตรวจภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ตรวจตา เท้า เป็นต้น และ ในปี 2564 ทางกลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง มีผู้ป่วยเรื้อรังที่จะลงไปดูแลต่อเนื่องแบบ One Stop Service จำนวน 6๗8 คน เพื่อจะได้ดำเนินการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดและที่คุมระดับความดันโลหิตไม่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องตามเกณฑ์และมีคุณภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการมารับบริการอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์และมีคุณภาพ

0.00
2 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 85,975.00 0 0.00
29 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดทำแฟ้มประวัติเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพิ่มเติมในผู้ป่วยรายใหม่และแฟ้มเก่าที่ชำรุด 0 9,700.00 -
29 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมติดตามตรวจสุขภาพเบื้องต้นผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน 0 8,175.00 -
29 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนแบบองค์รวมพร้อมให้ความรู้ 0 68,100.00 -
29 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัว โดยการเยี่ยมบ้านในชุมชนหลังให้บริการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการและได้รับ การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์และมีคุณภาพ
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2565 10:31 น.