กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสมุนไพรไทยต้านภัยโควิด-19
รหัสโครงการ 65-L5246-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโพธิ์
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 เมษายน 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2565
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิระวัฒน์ รัตนชล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) พบว่ายังมีการระบาดของโรคอยู่เป็นระยะในหลายพื้นที่ในจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นการป้องกันและบรรเทาความรุนแรงของการแพร่ระบาดของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มาตรการสำคัญคือการป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคด้วยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือบ่อย ๆ สิ่งนี้ไม่ได้ป้องกันเฉพาะไวรัสโคโรนาเท่านั้น แต่ยังป้องกันโรคติดต่ออื่น ๆที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย จากสถานการณ์การระบาดทำให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพดี และแสวงหาวิธีการต่างๆเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และสมุนไพรพื้นบ้านก็เป็นหนึ่งในทางเลือก อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร กระชาย ขิง เป็นต้น ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเป็นยาป้องกัน ระงับ ยังยั้ง ต้านจุลินทรีย์ ลดการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน เพื่อเตรียมรองรับการแพร่ระบาดของโรคอื่นๆที่อาจจะอุบัติขึ้นใหม่ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อดูแลสุขภาพในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะฟ้าทะลายโจรที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแสดงไม่มาก เป็นการเตรียมความพร้อมของประชากรในพื้นที่ให้สามารถใช้พืชสมุนไพรได้ถูกต้อง และสามารถรักษาสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) อีกทั้งเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและพืชสมุนไพรของไทยที่มีมายาวนาน เป็นภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น จวบจนปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง มาเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนการทำแบบทดสอบความรู้ เปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการปลูกสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ไว้บริโภคเองในครัวเรือน

ผู้เข้าร่วมโครงการกลับไปต่อยอดความรู้ด้วยการปลูกสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ไว้บริโภคเองในครัวเรือน ร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 18,600.00 2 18,600.00
9 ส.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้ในการป้องกัน/รักษาโควิด-๑๙ พร้อมทั้งสาธิตการทำน้ำสมุนไพรแก้ไอ ฯลฯ 30 8,100.00 8,100.00
9 ส.ค. 65 ฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและการปลูกพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) 30 10,500.00 10,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) แต่ละชนิดอย่างถูกต้อง ๒. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปลูกสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ไว้บริโภคเองในครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2565 15:21 น.