กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยตำบลคูหา "ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย" ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลคูหา
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 23,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคณิต สรรเสริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกได้มีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 จำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 963 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13 ของประชากรทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2573 คาดว่าจะมีจำนวนประชากรสูงอายุมากถึงประมาณ 1.4 พันล้านคน สำหรับประชากรสูงวัยในไทยเติบโตเป็นอับดับ 3 ของเอเชีย และจากสถิติผู้สูงวัยในไทยจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคมปี 2562 พบว่า จำนวน 11,136,059 คน สัดส่วน 16.73 % หมายถึงประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ    ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และสหประชาชาติกำหนดสังคมที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป ถือเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม แนวโน้มในอนาคตอาจมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้สูงอายุ ในขณะที่จำนวนประชากรวัยทำงานที่มีความสามารถในการเกื้อหนุนดูแลผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลง นอกจากปัญหาด้านสุขภาพแล้วยังมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในการดำรงชีวิตประจำวันลดลงอันเนื่องมาจากความเสื่อมของร่างกายตามสภาพอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรมีการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ที่ก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา ในปี 2564 มีประชากรทั้งหมด 5,986 คน ผู้สูงอายุ 726 คน คิดเป็นร้อยละ 12.12 และจากการประเมินคัดกรองความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน (ADL) ผู้สูงอายุจำนวน 699 คน เป็นกลุ่มติดสังคม จำนวน 692 คน คิดเป็นร้อยละ96.28 ติดบ้าน 4 คน ติดเตียง 4 คน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมการก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ และการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อชะลอความเสื่อมสภาพของร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อ(โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ฯลฯ) ชมรมผู้สูงอายุตำบลคูหา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยตำบลคูหา”ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”ปีงบประมาณ 2565

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรอบรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

 

0.00
2 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 จัดอบรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยตำบลคูหา”ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”จำนวน 2 รุ่นๆละ 40 คน(1 เม.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 23,030.00            
รวม 23,030.00
1 จัดอบรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยตำบลคูหา”ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”จำนวน 2 รุ่นๆละ 40 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 23,030.00 0 0.00
21 เม.ย. 65 จัดอบรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยตำบลคูหา”ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”จำนวน 2 รุ่นๆละ 40 คน 80 23,030.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รวมทั้งมีการเตรียมความพร้อมการก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2565 00:00 น.