กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดบุหรี่ : ตำบลสะเตงนอก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน แวหะยี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 360 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่ นับเป็นพฤติกรรมเสี่ยงส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดภาระโรคที่เพิ่มสูงขึ้นในประชากรไทยจากการวิเคราะห์สถานการณ์การบริโภคยาสูบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2550–2559) พบว่า ความชุกของผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ แม้ว่าประเทศไทยจะมีการดำเนินการมาตรการเพื่อร่วมมือกันในหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคีเครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ยังพบว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังคงสูบบุหรี่แล้วไม่สามารถเลิกสูบได้ เด็กและเยาวชนที่กำลังก้าวสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่ยังคงมีอยู่ทุกพื้นที่ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีประชากรทั้งหมด 35,114 คน 15,663 ครัวเรือนจากสถานการณ์การสูบบุหรี่ในพื้นที่ เทศบาลเมืองสะเตงนอก พบว่าจำนวนสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ได้รับ การสังเกตในปี 2563 จำนวน 52 ร้านพบว่า ไม่ปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ครบตามเกณฑ์(4 ข้อ) (ไม่แสดงยี่ห้อ / ไม่แสดงราคาบุหรี่, ไม่เปิดตู้ / ไม่วางโชว์ซองบุหรี่,ไม่วาง/ไม่แขวนซองยาเส้น และ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการสูบบุหรี่)จำนวน 38 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 73.1 และสถานที่สาธารณะที่ได้รับการสังเกตในปี 2563 จำนวน 116 แห่ง พบว่าจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ ไม่ครบตามเกณฑ์(3 ข้อ) (มีป้ายห้ามสูบบุหรี่นอกอาคาร, ในอาคารและไม่พบการสูบบุหรี่ในบริเวณใดๆ) 87 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.0 (ข้อมูลจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ วันที่ 31 มีนาคม 2563) ซึ่งแสดงถึงการมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้งที่เกิดกับผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง การเฝ้าระวัง การป้องกันการรณรงค์ การให้ความรู้ การบำบัดฟื้นฟูและการบังคับใช้กฎหมาย จึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินงานในการขับเคลื่อนที่จะทำให้ชุมชนตำบลสะเตงนอกเป็นชุมชนปลอดบุหรี่ ประกอบกับการที่มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการดำเนินงานต่างๆ ในพื้นที่ อาทิเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ฯลฯ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบในพื้นที่ตำบลสะเตงนอกมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตำบลสะเตงนอก จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดบุหรี่ : ตำบลสะเตงนอก เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ต้นแบบ สอดคล้องตามนโยบาย มาตรการ และแผนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 อันจะส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในตำบลสะเตงนอกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 46,970.00 3 40,970.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ 0 13,650.00 13,650.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมสื่อสารความเสี่ยงในสถานศึกษา จำนวน 12 แห่งๆละ 1 ครั้ง 0 27,320.00 27,320.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ในชุมชน 0 6,000.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีคณะทำงาน และนโยบายในการดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ
  2. ทีมงานและภาคีเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบในพื้นที่มีศักยภาพ สามารถดำเนินงานและขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่
  3. ประชาชน ร้านค้า และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบจากการบริโภคยาสูบ
  4. พื้นที่เป้าหมายปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
  5. มีระบบในการดูแลและช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565 09:52 น.