กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง รพ.สต.บ้านสะพานเคียน ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L1518-0109
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานเคียน
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธัญญา หนูเริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 5,290.00
รวมงบประมาณ 5,290.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colorectal cancer; CRC) ในประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงถือเป็นหนึ่งใน 5 ของมะเร็งที่พบมากที่สุดทั้งในเพศชายและ เพศหญิงโดยจากข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ประจำปีของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในประชากรไทยล่าสุด (ปี พ.ศ 2553-2555) พบว่า เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับสามในเพศชาย และพบมากเป็นอันดับสี่ในเพศหญิง ส่วนในรายงาน อุบัติการณ์ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในปี พ.ศ. 2557 พบในเพศชายเป็นอันดับ 1 ( 275 ราย คิดเป็น 17.2%) และเป็นอันดับ 3 ในเพศหญิง (208 ราย คิดเป็น 8.78%)(ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล, 2557) อุบัติการณ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากสถานการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในกลุ่มประชากรที่อาศัยในเขตเมือง ทั้งนี้เนื่องมาจาก พฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร บางประเภทมาก หรือน้อยเกินไป เช่น การบริโภคเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ และบริโภคอาหารที่มีกากใย น้อยลง (สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง ทั้งสิ้น การทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในระยะเริ่มแรกที่นิยมปฏิบัติมี หลากหลายวิธี และในจำนวนการทดสอบ (test) ทั้งหมดการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง (Fecal immunochemical test) สามารถช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เนื่องจากมีการตรวจพบ ความผิดปกติของมะเร็งในระยะเริ่มต้นก่อน ทำให้สามารถดำเนินการรักษาได้ทันก่อนพัฒนาไปสู่มะเร็งเต็มขั้น ยังมีวิธีการตรวจคัดกรองที่นิยมแพร่หลายคือการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ ลำไส้ ใหญ่/ไส้ตรง เป็นเทคนิคการตรวจคัดกรองที่ได้รับการยอมรับและมีความแม่นยำในการทำนายสูง คือมีค่าความไว (sensitivity) ระหว่าง 88.2 -100.0% ในการทำนาย ทั้ง advance adenoma และมะเร็ง
สถานการณ์ความรุนแรงและแนวทางในการดูแลและป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงดังที่กล่าวไว้ ข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานเคียน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานเคียน ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชากรกลุ่มอายุ 50-70 ปีจำนวน 604 คนเข้าถึงการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ(Fecal immunochemical test) อย่างน้อยร้อยละ 15 และถ้าผลการตรวจเป็นบวกจะทำการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบป้องกันและควบคุมมะเร็ง โดยให้ความสำคัญต่อการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกรวมถึงค้นหาติ่งเนื้อชนิด adenomatous polyp เพื่อการรักษาและป้องกันที่ถูกต้องและทันท่วงที ลดอัตราการตายและการลุกลามของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test)

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ร้อยละ 15

0.00
2 2.ประชาชนที่ได้ตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ผลเป็นบวกได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy)

2.ประชาชนที่ได้ตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ผลเป็นบวกได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy) ร้อยละ 75

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,290.00 0 0.00
3 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ เรื่อง มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (จัดกิจกรรมอบรม 2 วันๆละ 50 คน รวม 100 คน) 0 5,290.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2565 00:00 น.