กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเผชิญการระบาดของ COVID-19 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5303-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ต.เจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2022 - 30 กันยายน 2022
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2022
งบประมาณ 45,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ต.เจ๊ะบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 45,500.00
รวมงบประมาณ 45,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 850 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การเผชิญการระบาดของ COVID-19
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก การเจ็บป่วยมีผลกระทบรุนแรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิต ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้ายแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย 10 %
      ดังนั้น มาตรการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการรักษาร่างกายให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มีการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรค ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบเฝ้าระวังป้องกันโรค มีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำชุมชน ในการปฏิบัติงานทั้งคัดกรอง ค้นหากลุ่มเป้าหมาย เฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง และให้คำแนะนำการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคดังกล่าว       ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงได้จัดทำโครงการเผชิญการระบาดของ COVID-19 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค COVID-19 ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเผยแพร่ความรู้ให้กับครอบครัวและชุมชน สร้างความปลอดภัยแก่ประชาชนและเป็นการลดการติดต่อแพร่ระบาดของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค COVID-19

ร้อยละ 80 ของประชาชน มีความรู้เรื่องอาการของโรคและการป้องกันโรค COVID-19

2 เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ลดการติดต่อแพร่ระบาดของโรค

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างถูกต้องและเผยแพร่ความรู้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้

3 เพื่อเฝ้าระวังสังเกตอาการบุคคลกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 100 ของบุคคลกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามเฝ้าระวังสังเกตอาการที่บ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,500.00 7 45,500.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก พัฒนาทักษะในการป้องกันดูแลสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่ 0 20,900.00 20,900.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 พัฒนาศักยภาพทีมเพื่อร่วมออกแบบและพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิดในระดับหมู่บ้าน 0 19,600.00 19,600.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 คัดกรองประชาชนในพื้นที่และเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงที่บ้าน 0 1,250.00 1,250.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ติดตามเฝ้าระวังสังเกตอาการ ประเมินอาการเบื้องต้น แก่กลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักกันเพื่อสังเกต 0 1,250.00 1,250.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 สำรวจข้อมูลสุขภาพกายใจและการได้รับผลกระทบจากโรคโควิดของคนในหมู่บ้าน 0 1,250.00 1,250.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ปฏิบัติงาน ณ จุดคัดกรองของชุมชน โรงเรียน ในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 0 1,250.00 1,250.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงาน ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคและการป้องกันโรค COVID-19 สามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้อย่างถูกต้อง และสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับครอบครัวและชุมชน สร้างความปลอดภัยแก่ประชาชนและเป็นการลดการติดต่อแพร่ระบาดของโรค ลดความตื่นตระหนกของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค
  2. บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักกันเพื่อสังเกตอาการ ได้รับการเฝ้าระวังสังเกตอาการ ประเมินอาการเบื้องต้น และมีอสม.ปฏิบัติงาน ณ จุดคัดกรองของชุมชนในการป้องกัน โรงเรียน ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2022 12:21 น.