กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการหกล้มในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหมู่ที่ 2 3 5 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ปี 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการหกล้มในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหมู่ที่ 2 3 5 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L1460-01-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2565 - 20 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2565
งบประมาณ 32,186.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวรรณกิจ สินอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.338,99.515place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การที่ประชากรมีอายุยืนขึ้นทำให้โรคเรื้อรังที่เป็นผลจากการเสื่อมของสภาพร่างกาย กลายเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและวิทยาการทางการแพทย์อย่างมากในเวลาเดียวกัน แต่กลับพบว่ามีประชากรที่มีโรคเรื้อรังต่างๆ มากกว่าร้อยละ 50 คนไข้หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       การที่ประชากรมีอายุยืนขึ้นทำให้โรคเรื้อรังที่เป็นผลจากการเสื่อมของสภาพร่างกาย กลายเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและวิทยาการทางการแพทย์อย่างมากในเวลาเดียวกัน แต่กลับพบว่ามีประชากรที่มีโรคเรื้อรังต่างๆ มากกว่าร้อยละ 50 คนไข้โรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนไข้โรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ ยังพบว่า เกิดภาวะกระดูกพรุนเพิ่มมากขึ้น เป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุข ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแลรักษาคนไข้กลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หาย คนไข้จะมีอาการกำเริบ เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น เบาหวานอาจเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเฉียบพลัน เกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ตาบอด ไตวาย เท้าเป็นแผลอักเสบจนต้องตัดขา ความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดในสมองแตก เกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต การเกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการหกล้ม และกระดูกหักได้มากขึ้น เป้าหมายการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบหรือภาวะแทรกซ้อนสาเหตุหนึ่งเกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรม ที่สำคัญ ได้แก่ การกินอาหาร ทั้งประเภทและช่วงเวลาการกิน พฤติกรรมเสี่ยง คือ กินอาหารไม่ครบหมู่ กินอาหารบางหมู่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน งดอาหารมื้อเช้า แต่กินอาหารมื้อเย็นมากเกินไป กินอาหารเสร็จถึงเวลาเข้านอน ดื่มสุรา และสูบบุหรี่ การทำงานที่ใช้แรงกายน้อย ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูง         จากข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานของประชากรหมู่ที่ 2 3 5 ตำบลกันตังใต้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยรับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้ จำนวน 170 คน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มประสิทธิภาพทางการดูแลได้ดังนี้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 170 คน กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้อยู่ในระดับดี จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 43.52 กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 48.82 กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 7.64 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 27 คน กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอยู่ในระดับดี จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 40.74 กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 40.74 กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 18.51 ผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2และ3 คือกลุ่มที่ควรได้รับการควบคุมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จนกลายเป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในอนาคต และจากสถิติในปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เกิดการหกล้ม และมีภาวะกระดูกหักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดโรคภาวะแรกซ้อนเหล่านี้ จะทำให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้
        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันตังใต้ เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จึงได้ทำโครงการส่งเสริมความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการหกล้มในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหมู่ที่ 2 3 5 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรังขึ้น เพื่อช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการเพิ่มของผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับดี อย่างน้อยร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการหกล้ม

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการหกล้ม อย่างน้อยร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 65ก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65
1 ทำป้ายโครงการ(10 ม.ค. 2565-20 ส.ค. 2565) 0.00                
รวม 0.00
1 ทำป้ายโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 31,686.00 0 0.00
10 ม.ค. 65 - 20 ส.ค. 65 ช่วงที่ 1 ให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม 50 9,690.00 -
10 ม.ค. 65 - 20 ส.ค. 65 ช่วงที่ 2 การวัดความดันและระดับน้ำตาลที่บ้านโดยผู้ป่วย และจดบันทึกผล ในผู้ป่วยกลุ่มที่ 3 0 21,996.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลมีความรู้ สามารถดูแลตนเอง วัดความดันโลหิต และเจาะเลือดเพื่อดูน้ำตาลในกระแสเลือดได้อย่างถูกต้อง ได้รับการปรับเปลี่ยนการใช้ยาได้ตามความเหมาะสม ทราบผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม ผู้ดูแลช่วยเหลือป้องกันการหกล้มได้เพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2565 12:08 น.