กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รหัสโครงการ 65-L5241-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.บ่อดาน
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2565 - 4 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาริชาติ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อดาน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.447place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ หากเกิดขึ้นกับหญิงที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นทางด้านสรีระร่างกาย วัย ภาวะด้านคุณวุฒิ และวัยรุ่นก็คงเป็นเรื่องที่ยินดี และสร้างความสุขให้กับครอบครัวของหญิงนั้นๆ แต่ถ้าหากเกิดขึ้นกับผู้ที่ยังเป็น เด็กหญิง ซึ่งมีอายุระหว่าง 9 - 19 ปี ก็มักก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งต่อตัวเด็กเองและครอบครัว มีข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงต่อมนุษย์ พบว่าสภาวะการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เยาวชนมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น มีความรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ที่อายุน้อย การตั้งครรภ์ไม่พร้อม การทิ้งทารกและการทำแท้ง องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อดาน จุงได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง จึงได้จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลง หรือหมดสิ้นไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย / หญิงในสังคมพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจในการดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฎิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมบทบาทองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
  2. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจตนเอง และมีทักษะในการปฎิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
  3. องค์กรเครือข่ายมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 09:51 น.